ชื่อเรื่อง | : | การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการตัดสินใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารเวลาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม |
นักวิจัย | : | อุษณี ลลิตผสาน |
คำค้น | : | ทฤษฎีเกม , การตัดสินใจ , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , การบริหารเวลา , การสำรวจการใช้เวลา , Game theory , Decision-making , Academic achievement , Time management , Time management surveys |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริชัย กาญจนวาสี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31795 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารเวลาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกม กับนักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ประกอบไปด้วย กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกม กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกด้วย แบบฝึกทักษะการตัดสินใจแบบปกติ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจ จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลอนุกรมเวลาด้วยแบบประเมินประสิทธิภาพการบริหารเวลาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบรายวิชาชีววิทยา แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการบริหารเวลาด้วยกราฟเส้น ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกม มีประสิทธิภาพ การบริหารเวลา สงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยขนาดอิทธิพล ร้อยละ 9.49 2. นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกม มีประสิทธิภาพ การบริหารเวลาเพิ่มขึ้นทันทีหลังการทดลอง และคงทนอยู่เมื่อผ่านการทดลองไปแล้ว 2 สัปดาห์ 3. นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกทักษะการตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยขนาดอิทธิพล ร้อยละ 10.21 |
บรรณานุกรม | : |
อุษณี ลลิตผสาน . (2551). การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการตัดสินใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารเวลาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษณี ลลิตผสาน . 2551. "การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการตัดสินใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารเวลาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษณี ลลิตผสาน . "การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการตัดสินใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารเวลาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. อุษณี ลลิตผสาน . การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการตัดสินใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารเวลาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|