ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุ ในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย |
นักวิจัย | : | ประนอม โอทกานนท์ , จิราพร เกศพิชญวัฒนา |
คำค้น | : | บริการทางการแพทย์ -- การประเมินความต้องการจำเป็น , แผนการดูแลด้านการพยาบาล , บริการการพยาบาล , บ้านพักคนชรา , ผู้สูงอายุ -- บริการทางการแพทย์ , ชุมชนผู้เกษียณ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2537 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30863 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุและการจัดสถานสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและเป็นนโยบายของชาติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ แต่การบริการพยาบาลในสถานที่ทั้ง 2 แห่งยังเ็นปัญหาอยู่มาก การศึกษาครั้งนี้ต้องการศึกษาความ้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ได้ตัวอย่างประชากรในชรมผู้สูงอายุเป็นชาย 165 คน หญิง 149 คน และในสถานสงเคราะห์เป็นชาย 120 คน หญิง 140 คน โดยวิธีสุ่มหลายขั้นตอนเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบตรวจร่างกาย และแบบสัมภาษณ์ ที่มีความตรงและความเสี่ยง ผลการวิจัย ในชมรมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีควมต้องการการพยาบาลในเรื่อง การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ในด้านการจัดการทางการพยาบาลพบว่า ผู้สูงอายุต้องการให้มีการตรวจไขมันในเลือด การบันทึกจำนวนครั้งการมาใช้บริการ การตรวจสายตา การตรวจภาวะซีดของร่างกายการเอ็กซเรย์ปอด และการตรวจการได้ยิน การทดลองค่าไค-สแควร์ พบว่า การรายงานการได้รับบริการพยาบาลของผู้สูงอายุใน 4 เรื่อง คือ การยอมรับว่าผู้สูงอายุเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน การยอมรับนักถือผู้สูงอายุในฐานะผู้อาวุโส การจัดการให้มีการบำบัดรักษาสิ่งผิดปกติ และการจัดการให้มีการตรวจการได้ยินไม่มีความสัมพันธ์กับสถานที่ตั้งของชมรม (ภาค) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พบผู้สูงอายุร้อยละ 36.92 มีปัญหาเรื่องเชาว์ปัญญา ร้อยละ 71.15 มีปัญหาเรื่องซึมเศร้า ร้อยละ 19.23 มีปัญหาเรื่องการช่วยเหลือตนเอง และพบผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นอัมพาต หรือหลงลืมขั้นรุนแรงร้อยละ 19.09 ผู้สูงอายุที่มีความต้องการการพยาบาลในเรื่องสุขวิทยาของเล็บ ผิวหนัง และผม พบถึงร้อยละ 42.30, 30.38 และ 27.31 ตามลำดับ ความต้องการการพยาบาที่เกิดจากความเลื่อมและความเจ็บป่วยของร่ายการ 3 อันดับแรกได้แก่ การพยาบาลในเรื่องกระดูกและข้อพบร้อยละ 77.69 เหงือกและฟัน พบจำนวนเท่ากันกัลการขับถ่ายปัสสาวะคือ พบร้อยละ 75.76 การทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุจำแนกตามภาคและตามสังกัด พบว่า ทุกกิจกรรมการพยาบาลในทุกเรื่องคะแนนเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานในสถานสงเคราะห์ฯ ได้แก่ บุคลากรพยาบาลและบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนด้านการดูแลผู้สูงอายุมีจำนวนไม่เพียงพอ มีความจำกัดในเรื่องอุปกรณ์และเครื่องมือจำเป็น การศึกษาครั้งนี้ให้ประโยชน์ ให้ข้อมูล ความต้องการบริการพยาบาลในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผลการวิจัยจะช่วยให้นักการศึกษาพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการพยาบาลอย่างเพียงพอในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ |
บรรณานุกรม | : |
ประนอม โอทกานนท์ , จิราพร เกศพิชญวัฒนา . (2537). การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุ ในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประนอม โอทกานนท์ , จิราพร เกศพิชญวัฒนา . 2537. "การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุ ในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประนอม โอทกานนท์ , จิราพร เกศพิชญวัฒนา . "การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุ ในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. Print. ประนอม โอทกานนท์ , จิราพร เกศพิชญวัฒนา . การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุ ในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537.
|