ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก |
นักวิจัย | : | วรนาฏ สุคนธรัตน์, 2519- |
คำค้น | : | เด็ก--การดูแล , ทารก--การดูแล , ผู้ดูแล , สถานเลี้ยงเด็ก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741730276 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/301 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารก และวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก ในด้านนโยบายของสถานรับเลี้ยงเด็ก การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก การอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร 75 คน ผู้เลี้ยงดูเด็ก 150 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบสำรวจ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) นโยบายของสถานรับเลี้ยงเด็ก มีการคัดเลือกผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กมาก่อน และเป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่อบอุ่น ใจดี อดทนและรักเด็ก มีการกำหนดอัตราส่วนระหว่างผู้เลี้ยงดูเด็ก 1 คน ต่อเด็กวัยทารก ไม่เกิน 3 คน และผู้เลี้ยงดู 1 คน ต่อเด็กวัยเตาะแตะ 1 ไม่เกิน 10 คน การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกคือ กรมประชาสงเคราะห์ สถานีอนามัยและโรงพยาบาล ไม่มีการนิเทศผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างเป็นทางการ นอกจากใช้การสังเกตและมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก แนะนำและให้แก้ไขทันทีถ้าเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีการส่งเสริมผู้เลี้ยงดูเด็กด้านจัดการอบรมเลี้ยงดู ด้วยการจัดหาหนังสือให้อ่าน และจัดส่งไปอบรม 2) การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม มีการปรับจากแนวหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือประสบการณ์ในการทำงาน การเลี้ยงดูบุตรและจากการอบรมต่างๆ 3) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านลักษณะของอาคารส่วนใหญ่มีชั้นเดียว ภายในห้องเลี้ยงดูเด็ก มีผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้จัดเอง เพื่อให้สะดวกกับการใช้งานของผู้เลี้ยงดูเด็ก และเน้นความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ 4) การอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก มีพัฒนาการทุกด้านตามวัย ฝึกให้เด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและทักษะการช่วยเหลือตนเองได้ 5) การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ใช้การสังเกตและบันทึกเกี่ยวกับการเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็ก และพฤติกรรมของเด็กแต่ละวัน ด้วยแบบประเมินที่สถานรับเลี้ยงเด็กจัดทำขึ้นเอง และรายงานให้ผู้ปกครองทราบด้วยการพูดคุยกับผู้ปกครองโดยตรง 6) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ใช้การพูดคุย ให้คำปรึกษาและแนะนำความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเด็กแก่ผู้ปกครองในช่วงที่ผู้ปกครองมารับส่งเด็ก |
บรรณานุกรม | : |
วรนาฏ สุคนธรัตน์, 2519- . (2545). การศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรนาฏ สุคนธรัตน์, 2519- . 2545. "การศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรนาฏ สุคนธรัตน์, 2519- . "การศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. วรนาฏ สุคนธรัตน์, 2519- . การศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|