ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน |
นักวิจัย | : | อมรรัตน์ เหลืองแสงทอง, 2520- |
คำค้น | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิต , ภาษาอังกฤษ--การพูด , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) , ความสามารถทางภาษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จันทร์ทรงกลด คชเสนี สุทธิพิบูลย์ , อัมพร ม้าคนอง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741729677 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/280 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการ สื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตชั้นปีที่1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2545 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 5500115 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ และแบบวิเคราะห์กลวิธีการ สื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นิสิตบรรยายภาพจากแบบวัดเป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งทำการบันทึกเสียง และถอดเทปข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การค่าร้อยละของผลรวมความถี่ของการใช้กลวิธีการสื่อสาร และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างของกลวิธีการ สื่อสารของนิสิตที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่างกันโดยการทดสอบด้วยไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษที่นิสิตชั้นปีที่1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเกือบตรงกัน คิดเป็นร้อยละ 28.19 กลวิธีการสื่อสารที่นิสิตใช้ในอันดับรองลงมา คือ กลวิธีการกล่าวซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 19.45 ส่วนกลวิธีการสื่อสารที่นิสิตใช้น้อยที่สุด คือ กลวิธีการพูดภาษาอื่นปนกับภาษาเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 0.16 นอกจากนี้เมื่อจำแนกตามระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตชั้นปีที่1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ใช้กลวิธีการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเกือบตรงกันมากที่สุด ใช้กลวิธีการกล่าวซ้ำในอันดับรองลงมา และใช้กลวิธีการพูดภาษาอื่นปนกับภาษาเป้าหมายน้อยที่สุดเช่นเดียวกันทุกกลุ่ม 2. นิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตที่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูงใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างจากนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับปานกลางและระดับต่ำ และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับปานกลางใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างจากนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับต่ำ |
บรรณานุกรม | : |
อมรรัตน์ เหลืองแสงทอง, 2520- . (2545). การเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อมรรัตน์ เหลืองแสงทอง, 2520- . 2545. "การเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อมรรัตน์ เหลืองแสงทอง, 2520- . "การเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. อมรรัตน์ เหลืองแสงทอง, 2520- . การเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|