ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | จงรักษ์ แจ้งยุบล, 2504- |
คำค้น | : | การยอมรับนวัตกรรม , นวัตกรรมทางการศึกษา , ครูสังคมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วลัย พานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741715064 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/269 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านประสบการณ์การสอน วุฒิทางการศึกษา ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การอบรม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่สอนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 342 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษากำลังพิจารณาความเหมาะสมในการนำนวัตกรรมไปใช้ คือ การสอนโดยใช้แผนผังความคิด การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบโครงงาน การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยใช้เทคนิคหมวกคิด 6 ใบ สัญญาการเรียน รูปแบบการเรียนแบบ PSI การสอนโดยใช้ Storyline Method และการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียน 4 MAT ส่วนนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษามีความสนใจ คือการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ และการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2. การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 2.1 ปัจจัยด้านคุณสมบัติของนวัตกรรม พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือการเห็นผลสำเร็จของนวัตกรรมได้ชัดเจน, เป็นนวัตกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากและเป็นนวัตกรรมที่ใช้ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน 2.2 ปัจจัยด้านสภาพสังคมในโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือ มีการฝึกอบรม, มีบรรยากาศเอื้อต่อการใช้นวัตกรรม และฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนการใช้นวัตกรรม 2.3 ปัจจัยด้านแหล่งสนับสนุนจากภายนอกโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือ อบรม สัมมนา 3. การเปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน พบว่า ครู สังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอน วุฒิการศึกษา และระดับชั้นที่สอนต่างกัน มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน ยกเว้นครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การอบรมต่างกัน มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
บรรณานุกรม | : |
จงรักษ์ แจ้งยุบล, 2504- . (2545). การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จงรักษ์ แจ้งยุบล, 2504- . 2545. "การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จงรักษ์ แจ้งยุบล, 2504- . "การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. จงรักษ์ แจ้งยุบล, 2504- . การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|