ชื่อเรื่อง | : | ผลของการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร |
นักวิจัย | : | ธิดารัตน์ นาคเกี้ยว, 2510- |
คำค้น | : | ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน , การสื่อทางภาษา , ความสามารถทางภาษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุมิตรา อังวัฒนกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741704429 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/263 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ที่ได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร ตัวอย่างประชากรในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ปีการศึกษา 2544 จำนวน 28 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร จำนวน 9 แผนๆ ละ 2 คาบรวมทั้งสิ้น 18 คาบ ผู้วิจัยสอน สัปดาห์ละ 4 คาบ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งเป็นแบบสอบคู่ขนานและผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและมีค่าความเที่ยงของแบบสอบฉบับที่ 1 เท่ากับ .88 และฉบับที่ 2 เท่ากับ 81 โดยแบบสอบฉบับที่ 1 ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง และฉบับที่ 2 ใช้ทดสอบหลังการทดลอง แล้วนำผลการทดสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษมาวิเคราะห์โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองโดยการหาค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยา เขตพณิชยการพระนคร ที่ได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 35.35 และเมื่อพิจารณาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามกิจกรรมพบว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษจากการทำกิจกรรมการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการสมัครงาน การบรรยายภาพการสนทนาทางโทรศัพท์ การแสดงบทบาทสมมติในการนัดหมาย อยู่ในระดับปานกลาง ดี และดี โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 13.14, 7.12 และ 15 ตามลำดับ 2. นักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ ระดับปริญญาตรี ที่ได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติ เพื่อการสื่อสาร มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองคิดเป็นร้อยละ 70.7 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองร้อยละ 23 |
บรรณานุกรม | : |
ธิดารัตน์ นาคเกี้ยว, 2510- . (2544). ผลของการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธิดารัตน์ นาคเกี้ยว, 2510- . 2544. "ผลของการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธิดารัตน์ นาคเกี้ยว, 2510- . "ผลของการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ธิดารัตน์ นาคเกี้ยว, 2510- . ผลของการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|