ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา |
นักวิจัย | : | เสาวนีย์ เยาวโรจน์, 2517- |
คำค้น | : | สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) , สังคมศึกษา--หลักสูตร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วลัย พานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741706219 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/259 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตัวอย่างประชากรเป็นหัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา 208 คน ที่ตอบแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ครูสังคมศึกษา 3 คน ที่ได้จัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และคำนวณหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ทั้ง 5 ลักษณะ 1.1 การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษาในด้านโครงสร้างหลักสูตรสังคมศึกษาด้านทรัพยากรบุคคล และด้านการศึกษาข้อมูลของท้องถิ่น ปรากฏว่า ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินงานที่เหมือนกัน โดยได้พัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษาในรายวิชาท้องถิ่นของเรา นำทรัพยากรครูสังคมศึกษามาร่วมดำเนินงาน และได้ศึกษาเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ดำเนินงานมากที่สุด คือ ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริม และที่ดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติม 1.2 การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษามีรายละเอียดในแต่ละลักษณะ คือ (ก) การปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริม มีการทำแผนการเรียนการสอนให้มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดความรักความผูกพันในท้องถิ่น จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ และจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานในแหล่งวิทยาการท้องถิ่น (ข) การปรับรายละเอียดของเนื้อหาสาระ กำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับรายละเอียดของเนื้อหาในเรื่องศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น (ค) การปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม มีการสำรวจรวบรวมเอกสารและหนังสือที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน ได้กำหนดเกณฑ์ในการปรับสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และได้ปรับสื่อในรูปของใบงานเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่น (ง) การจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ ได้กำหนดเกณฑ์ในการจัดทำสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และได้จัดทำสื่อในรูปของหนังสืออ่านเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่น (จ) การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มีการจัดทำรายวิชาใหม่ คือ รายวิชาวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่และรายวิชาอิสลามศึกษา 6 รายวิชา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตระหนักเห็นความสำคัญและสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น 2. ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการขาดความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ขาดงบประมาณ ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และครูสังคมศึกษาไม่มีเวลาในการดำเนินงานเพราะมีภาระงานสอนมาก |
บรรณานุกรม | : |
เสาวนีย์ เยาวโรจน์, 2517- . (2544). การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสาวนีย์ เยาวโรจน์, 2517- . 2544. "การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสาวนีย์ เยาวโรจน์, 2517- . "การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. เสาวนีย์ เยาวโรจน์, 2517- . การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|