ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | ประทีป ปิ่นทอง, 2520- |
คำค้น | : | นักวิจัย--จรรยาบรรณ , ลิสเรลโมเดล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นงลักษณ์ วิรัชชัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740313531 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/242 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาระดับจรรยานักวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา พัฒนาโมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัย และระบุตัวแปรที่มีผลต่อจรรยานักวิจัย และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลลิสเรลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 413 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัว คือ จรรยานักวิจัย การกระทำความผิดในการวิจัย ลักษณะเฉพาะบุคคล ลักษณะของภาควิชา และบรรยากาศของภาควิชา ตัวแปรสังเกตได้ 22 ตัวแปร ใช้วัดตัวแปรแฝงทั้ง 5 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับจรรยานักวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงคือ นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่านักวิจัยมีความสำคัญมาก และได้ปฏิบัติเป็นประจำ 2. โมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรที่มีผลต่อจรรยานักวิจัย 3 ด้านคือ ด้านลักษณะเฉพาะบุคคล ประกอบด้วยตัวแปร อายุ ความเป็นนิสิตปริญญาเอก ความเป็นภาควิชาสนับสนุนการสอน ด้านลักษณะของภาควิชา ประกอบด้วยตัวแปร ข้อมูลป้อนกลับ การเอาใจใส่ ความร่วมมือ และการทำงานเป็นกลุ่มและด้านบรรยากาศของภาควิชา ประกอบด้วยตัวแปร การไม่แข่งขัน ความเป็นปึกแผ่น การเป็นผู้ช่วยวิจัย การตีพิมพ์เผยแพร่ และการวิจัยแบบร่วมมือ 3. การวิเคราะห์โมเดลลิสเรลที่พัฒนาขึ้นมีการปรับโมเดล ทำให้ตัวแปรลักษณะของภาควิชา และบรรยากาศของภาควิชามีความสัมพันธ์กัน โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงมีค่า ไค-สแควร์ (chi-square) เท่ากับ 203.23; p=.086 ที่องศาอิสระเท่ากับ 177 มีค่า GFI เท่ากับ .96 ค่า AGFI เท่ากับ .94 และค่า RMR เท่ากับ .017 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรจรรยานักวิจัยได้ 11% ตัวแปรลักษณะเฉพาะบุคคล ลักษณะของภาควิชา และบรรยากาศของภาควิชา มีอิทธิพลต่อตัวแปรจรรยานักวิจัยอย่างมีนัยสำคัญ |
บรรณานุกรม | : |
ประทีป ปิ่นทอง, 2520- . (2544). การพัฒนาโมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประทีป ปิ่นทอง, 2520- . 2544. "การพัฒนาโมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประทีป ปิ่นทอง, 2520- . "การพัฒนาโมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ประทีป ปิ่นทอง, 2520- . การพัฒนาโมเดลลิสเรลจรรยานักวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|