ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
นักวิจัย | : | สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ , วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล , เกื้อ วงศ์บุญสิน |
คำค้น | : | ความสัมพันธ์ในครอบครัว--ไทย (ภาคเหนือ) , ความสัมพันธ์ในครอบครัว--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , ครอบครัว--ไทย (ภาคเหนือ) , ครอบครัว--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , เด็ก|xการดูแล--ไทย (ภาคเหนือ) , เด็ก--การดูแล--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2538 |
อ้างอิง | : | 9746332309 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/236 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ภูมิหลังของผู้ตอบและข้อมูลเกี่ยวกับญาติ -- การเลี้ยงดูบุตรและการใช้เวลาของสมาชิกในครอบครัว -- การติดต่อกับสมาชิกในครอบครัว -- ความช่วยเหลือและการสนับสนุน -- ทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัว การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัยในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ได้ใช้ข้อมูลจากประชาชนและข้าราชการ โดยมีจำนวนตัวอย่างจากประชาชนภาคเหนือ 369 คน และ 364 คน จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนข้าราชการในภาคเหนือมีจำนวน 268 คน และจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ 345 คน มีวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือ ต้องการทราบถึงระดับของความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างวัยในครอบครัวคือ ระหว่างบิดามารดาของผู้ตอบและผู้ตอบ และระหว่างผู้ตอบกับบุตร รวมทั้งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ฯ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ของผู้ตอบไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือข้าราชการทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสนิทสนมกับบิดามารดาเป็นอย่างดี ประมาณ 1 ใน 2 ของประชาชนในภาคเหนือ และร้อยละ 47.8 ของผู้ตอบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดว่าไม่มีช่องว่างระหว่างบิดามารดา สำหรับกลุ่มข้าราชการสัดส่วนที่ตอบว่าไม่มีช่องว่างนั้นจะมีน้อยกว่าประชาชน คือ เพียง 1 ใน 3 ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตอบกับบิดามารดานั้น ได้แก่ อายุ เพศ และระดับการศึกษาของผู้ตอบ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกับบุตรนั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92 ของประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้ากันได้ดีมากกับบุตร สำหรับกลุ่มข้าราชการมีสัดส่วนที่น้อยกว่าคือ ร้อยละ 89.3 และ 86.8 ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ตอบในทำนองดังกล่าว สำหรับช่องว่างระหว่างผู้ตอบกับบุตร พบว่า ร้อยละ 71.5 และ 61.1 ของประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้สึกว่าไม่มีช่องว่างระหว่างตนกับบุตร ในส่วนของข้าราชการมีประมาณ 1 ใน 2 ของทั้งสองภาคตอบว่า ไม่มีช่องว่างเลยกับบุตร ส่วนช่องว่างระหว่างบิดามารดาของผู้ตอบนั้น พบว่า 3 ใน 4 ของผู้ตอบฝนภาคเหนือ และ 61.6 ของผู้ตอบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรายงานพบว่าไม่มีช่องว่าง เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตอบกับบุตรนั้น ได้แก่ อายุ เพศ และระดับการศึกษาของผู้ตอบ |
บรรณานุกรม | : |
สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ , วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล , เกื้อ วงศ์บุญสิน . (2538). การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ , วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล , เกื้อ วงศ์บุญสิน . 2538. "การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ , วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล , เกื้อ วงศ์บุญสิน . "การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538. Print. สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ , วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล , เกื้อ วงศ์บุญสิน . การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
|