ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ผลกระทบของการกระจายทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2520-2544 |
นักวิจัย | : | นุชนัทที วีระโสภณ, 2521- |
คำค้น | : | การถ่ายทอดเทคโนโลยี , ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บังอร ทับทิมทอง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745322601 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/178 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการลงทุนทางการวิจัยและพัฒนาน้อยมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพึ่งพากลยุทธ์ทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศอุตสาหกรรมที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย (Total Factor Productivity : TFP) ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2544 โดยให้ความสำคัญกับการเปิดประเทศทางด้านการค้าและการลงทุน ในฐานะที่เป็นช่องทางหลักที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติจะแยกการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ส่วน คือ การวิเคราะห์ผลของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมในระดับประเทศ ในภาคเกษตรกรรม และในภาคอุตสาหกรรม โดยวิธีการที่ใช้จะเป็นการวิเคราะห์สมการถดถอยอนุกรมเวลา และการประยุกต์ใช้เทคนิค Co-integration และ Error Correction ด้วยวิธีของ Engle และ Granger ผลการศึกษาในระดับประเทศ พบว่า การลงทุนทางวิจัยและพัฒนาของประเทศอุตสาหกรรม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน มีส่วนในการยกระดับผลิตภาพ ปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ผ่านมาทางช่องทางการนำเข้าสินค้าทุน โดยเมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ในภาคเกษตรกรรม พบว่า การเปิดประเทศทางด้านการค้า (ทั้งการนำเข้า และการส่งออก) เป็นช่องทางที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยยกระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นช่องทางที่สำคัญที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และยกระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่า ทุนมนุษย์เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ทั้งในภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากทุนมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถดูดซับความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อย่างลึกซึ้ง |
บรรณานุกรม | : |
นุชนัทที วีระโสภณ, 2521- . (2547). การวิเคราะห์ผลกระทบของการกระจายทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2520-2544.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุชนัทที วีระโสภณ, 2521- . 2547. "การวิเคราะห์ผลกระทบของการกระจายทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2520-2544".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุชนัทที วีระโสภณ, 2521- . "การวิเคราะห์ผลกระทบของการกระจายทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2520-2544."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นุชนัทที วีระโสภณ, 2521- . การวิเคราะห์ผลกระทบของการกระจายทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2520-2544. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|