ชื่อเรื่อง | : | ประสิทธิผลของไม้เลื้อยที่มีผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคาร |
นักวิจัย | : | วรวรรณ เนตรพระ |
คำค้น | : | ความร้อน -- การถ่ายเท , ไม้เถา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29075 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองจากสถานที่จริงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคารโดยใช้ไม้เลื้อยที่มีขนาดใบเล็ก(สายน้ำผึ้ง) ใบขนาดกลาง (พวงแสด) และใบขนาดใหญ่ (ใบระบาด) กับชนิดผนังมวลสารน้อย (low thermal mass) ผนังมวลสารปานกลาง (medium thermal mass) ผนังมวลสารมาก(high thermal mass) ที่มีความต้านทานความร้อนต่ำและความต้านทานความร้อนสูง เพื่อทราบชนิดผนังที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากประสิทธิผลของไม้เลื้อยในการช่วยลดการถ่ายเทความร้อนมากที่สุด กระบวนการวิจัยจะเริ่มจากการกำหนดสภาพการใช้งานอาคารที่จะทำการทดสอบเป็นอาคารชั้นเดียวกว้าง 4.20 ม. ยาว 6.30 ม. สูง 2.50 ม. โดยแบ่งอาคารเป็นห้องทดลองขนาด 1.00x2.00 ม.จำนวน 4 ห้องเพื่อเปรียบเทียบตัวแปรต่างๆที่ใช้ในการศึกษา โดยห้องทดลองทั้ง 4 ห้องป้องกันความร้อนเข้าสู่ผนังอาคารทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก โดยให้เฉพาะทิศตะวันตกเท่านั้นที่สามารถรับความร้อนจากภายนอกได้ซึ่งห้องทดลองจะได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกันและไม่มีการปรับอากาศ กำหนดให้ 3 ห้องปลูกไม้เลื้อยใบเล็ก ใบกลาง ใบใหญ่ปกคลุมผนังภายนอกอาคารทางด้านทิศตะวันตก ห้องทดลองอีก 1 ห้องไม่มีไม้เลื้อยปกคลุม ทำให้เกิดรูปแบบของการทดสอบทั้งหมด 6 ชุดการทดสอบ เก็บข้อมูลทุกๆ 30 นาทีเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วันหรือ 72 ชั่วโมงต่อ 1 การทดลอง การวิเคราะห์ประสิทธิผลการทดลองในแต่ละชุดการทดลองใช้กระบวนการพิจารณาจากผลต่างขององศาชั่วโมงของอุณหภูมิสะสม (degree hour) โดยทุกจุดที่เก็บข้อมูลเก็บที่ฐาน 18℃ เพื่อวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบประสิทธิผลของทุกชุดการทดลอง จากการทดลองโดยการนำขนาดใบมาเป็นตัวแปรในการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทดสอบ พบว่าไม้เลื้อยทุกขนาดใบมีประสิทธิช่วยในการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารได้ดีในช่วงกลางวันกับทุกชนิดผนังที่ใช้ในการทดลอง โดยไม้เลื้อยใบกลางมีประสิทธิผลช่วยลดอุณหภูมิภายในช่วงที่อุณหภูมิอากาศสูงสุดเวลากลางวันได้ดีที่สุด แต่ในช่วงเวลากลางคืนไม้เลื้อยไม่มีประสิทธิผลในการลดการถ่ายเทความร้อนเนื่องจากห้องที่มีไม้เลื้อยปกคลุมกลับมีอุณหภูมิสูงกว่าห้องธรรมดา ไม้เลื้อยที่มีประสิทธิผลช่วยลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคารจากมากไปหาน้อยเป็นดังนี้ ไม้เลื้อยใบกลาง (พวงแสด) ไม้เลื้อยใบใหญ่ (ใบระบาด) และไม้เลื้อยใบเล็ก (สายน้ำผึ้ง) ชนิดผนังที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากประสิทธิผลของไม้เลื้อยในการช่วยลดการถ่ายเทความร้อนมากที่สุดสามารถเรียงลำดับจากผนังที่ได้รับประสิทธิผลมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1.ผนังมวลเบา(ซีเมนต์บอร์ด) 2. ผนังมวลปานกลาง(ก่ออิฐฉาบปูน) 3. ผนังมวลมาก(ก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น ) 4.ผนังมวลเบา+ฉนวน(ซีเมนต์บอร์ด+ฉนวน) 5.ผนังมวลปานกลาง+ฉนวน (ก่ออิฐฉาบปูน+ฉนวน) 6.ผนังมวลมาก+ฉนวน (ก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น +ฉนวน) กล่าวได้ว่าผนังที่จะได้ประโยชน์จากไม้เลื้อยมากที่สุดคือผนังที่มีค่า U-Value สูง ค่า R-value ต่ำ หรือผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนสูง ค่าการต้านทานความร้อนต่ำ |
บรรณานุกรม | : |
วรวรรณ เนตรพระ . (2551). ประสิทธิผลของไม้เลื้อยที่มีผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคาร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรวรรณ เนตรพระ . 2551. "ประสิทธิผลของไม้เลื้อยที่มีผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคาร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรวรรณ เนตรพระ . "ประสิทธิผลของไม้เลื้อยที่มีผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคาร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. วรวรรณ เนตรพระ . ประสิทธิผลของไม้เลื้อยที่มีผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคาร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|