ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดสารไซโตคายน์อินเตอร์ลิวคิน 6 ด้วยการฟอกเลือดด้วยตัวกรองที่มีรูกรองขนาดใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกด้วยตัวกรองที่มีรูขนาดใหญ่ปกติในเครื่องฟอกไดอะฟิลเตรชั่นประสิทธิผลต่ำต่อเนื่องในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะไตวายฉับพลัน |
นักวิจัย | : | จีราลักษณ์ ตันฑ์พรชัย |
คำค้น | : | ไตวายเฉียบพลัน , ไต -- โรค , อินเตอร์ลิวคิน-6 , เครื่องไดอะลัยสิส |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ขจร ตีรณธนากุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28107 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 วิธีการศึกษา : การศึกษาวิจัยทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมกับภาวะไตวายฉับพลันทั้งหมด 15 ราย เปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดสารไซโตคายน์ interleukin 6 (IL-6) ระหว่าง HCO dialyzer และตัวกรอง HF dialyzer ในเทคนิคการฟอกเลือด SLED-f รวมทั้งปริมาณร้อยละการลดลงของสารอัลบูมินในเลือด ปริมาณสารอัลบูมินที่เสียในน้ำยาฟอกเลือด และอุบัติการณ์ความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด ผลการศึกษา : ผู้ร่วมวิจัยในกลุ่ม HCO-SLED-f มีค่ามัฐยฐานอายุน้อยกว่า [85 ปี (65.0-88.0) vs. 70 ปี (46.5-75.3) p=0.042] และมีจำนวนอวัยะที่ล้มเหลวน้อยกว่า [3 อวัยวะ (2-4) vs. 4 อวัยวะ (3-5) p=0.042] เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม HF-SLED-f แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การฟอกเลือดด้วยเทคนิค HCO-SLED-f มีอัตราการขจัดสารไซโตคายน์ IL-6 ในเลือด และร้อยละการลดลงของสารไซโตคายน์ IL-6 ในเลือด ไม่แตกต่างกับเทคนิค HF-SLED-f แต่พบการเสียสารอัลบูมินในน้ำยาฟอกเลือดในการฟอกเลือดด้วยเทคนิค HCO-SLED-f มากกว่า HF-SLED-f อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณสารอัลบูมินที่เสียในน้ำยาฟอกเลือด 4.72 กรัมต่อการฟอกเลือดหนึ่งรอบของเทคนิค HCO-SLED-f ในระยะเวลาหกชั่วโมง แต่อย่างไรเมื่อติดตามวัดระดับสารอัลบูมินในเลือดพบว่าร้อยละการลดลงของ albumin ภายหลังการฟอกเลือด SLED-f ระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ดังแสดงในตาราง เราพบอุบัติการณ์ของความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด HCO-SLED-f ร้อยละ 50 และ HF-SLED-f ร้อยละ 42.3 ไม่แตกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม สรุป : การฟอกเลือดด้วยเทคนิค HCO-SLED-f มีแนวโน้มว่าสามารถขจัดสารไซโตคายน์ IL-6 ในเลือดได้มากกว่า HF-SLED-f โดยที่มีการเสียสารอัลบูมินในน้ำยาฟอกเลือดจำนวน 4.72 กรัมในการฟอกเลือดนานหกชั่วโมง ดังนั้นเทคนิคนี้จึงมีเพียงแนวโน้มว่าน่าจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่เนื่องจากการศึกษานี้มีขนาดเล็ก ต้องรอการศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อยืนยันประสิทธิภาพในการนำมาใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมกับไตวายฉับพลัน |
บรรณานุกรม | : |
จีราลักษณ์ ตันฑ์พรชัย . (2554). การศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดสารไซโตคายน์อินเตอร์ลิวคิน 6 ด้วยการฟอกเลือดด้วยตัวกรองที่มีรูกรองขนาดใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกด้วยตัวกรองที่มีรูขนาดใหญ่ปกติในเครื่องฟอกไดอะฟิลเตรชั่นประสิทธิผลต่ำต่อเนื่องในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีราลักษณ์ ตันฑ์พรชัย . 2554. "การศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดสารไซโตคายน์อินเตอร์ลิวคิน 6 ด้วยการฟอกเลือดด้วยตัวกรองที่มีรูกรองขนาดใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกด้วยตัวกรองที่มีรูขนาดใหญ่ปกติในเครื่องฟอกไดอะฟิลเตรชั่นประสิทธิผลต่ำต่อเนื่องในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีราลักษณ์ ตันฑ์พรชัย . "การศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดสารไซโตคายน์อินเตอร์ลิวคิน 6 ด้วยการฟอกเลือดด้วยตัวกรองที่มีรูกรองขนาดใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกด้วยตัวกรองที่มีรูขนาดใหญ่ปกติในเครื่องฟอกไดอะฟิลเตรชั่นประสิทธิผลต่ำต่อเนื่องในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. จีราลักษณ์ ตันฑ์พรชัย . การศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดสารไซโตคายน์อินเตอร์ลิวคิน 6 ด้วยการฟอกเลือดด้วยตัวกรองที่มีรูกรองขนาดใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกด้วยตัวกรองที่มีรูขนาดใหญ่ปกติในเครื่องฟอกไดอะฟิลเตรชั่นประสิทธิผลต่ำต่อเนื่องในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|