ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง |
นักวิจัย | : | จรวยพร วงศ์ขจิต |
คำค้น | : | หลอดเลือดสมอง -- โรค , หลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย , พฤติกรรมสุขภาพ , อาหารสำหรับผู้ป่วย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รุ้งระวี นาวีเจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26430 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้กรอบแนวคิดของรอย ศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง นาน 1 เดือน-1 ปี จำนวน 121 คนที่มารับการรักษาในคลินิกอายุรกรรมประสาทหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการกลืนทางคลินิก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการพึ่งพาตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.85, 0.94, 0.94, 0.97 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารหมวดไขมัน อยู่ในระดับดีมาก ( X = 24.64) หมวดข้าว-แป้ง-น้ำตาล หมวดเนื้อสัตว์ หมวดผักผลไม้ และหมวดเครื่องปรุงรส อยู่ในระดับดี ( X =14.95 , X = 23.70, X = 25.24 และ X = 10.94 ตามลำดับ ) และหมวดเครื่องดื่มอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3 ) 2. ภาวะกลืนลำบาก ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3. ความรุนแรงของโรคและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 (r =- .20 และr =- .48ตามลำดับ) 4. สัมพันธภาพในครอบครัวและการพึ่งพาตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0 .05 (r =.42 และr = .28 ตามลำดับ) |
บรรณานุกรม | : |
จรวยพร วงศ์ขจิต . (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จรวยพร วงศ์ขจิต . 2554. "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จรวยพร วงศ์ขจิต . "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. จรวยพร วงศ์ขจิต . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|