ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาการเกิดของสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ภายใต้พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 |
นักวิจัย | : | กรกช แก้วไพฑูรย์ |
คำค้น | : | ตลาดซื้อขายล่วงหน้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย , การแลกเปลี่ยนสินค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , กฎหมายพาณิชย์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26343 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 พ.ร.บ. การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติถึงการเกิดของสัญญาไว้ว่าใช้วิธีประมูลโดยเปิดเผย เพื่อจับคู่คำสั่งซื้อขายเรียงตามราคาและเวลาที่ดีที่สุด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการเกิดของสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. จึงเกิดปัญหาว่าการเกิดของสัญญาที่แตกต่างกันดังกล่าว นำมาซึ่งผลทางกฎหมายที่แตกต่างกันหรือไม่ กฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าของไทยได้บัญญัติถึงกระบวนการก่อให้เกิดสัญญาล่วงหน้าไว้ชัดเจนเฉพาะในด้านวิธีการขั้นตอน ส่วนในด้านรูปแบบมิได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นรูปแบบใด จึงแตกต่างจาก พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และ Commodity Exchange Act (1936) ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้กำหนดรูปแบบกระบวนการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจน และจากกระบวนการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากกระบวนการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. นี้เอง จึงนำมาซึ่งผลทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องผลต่อความเป็นผลของสัญญา โดยในสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จะมีทั้งกรณีก่อให้เกิดผลทางหนี้ทันทีที่สัญญาเกิด แต่จะไม่ก่อให้เกิดผลทางทรัพย์ และกรณีความเป็นผลของสัญญาจะเป็นผลเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่ข้อบังคับในแต่ละประเภทสินค้ากำหนดไว้ จึงแตกต่างจากสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. ที่ความเป็นผลของสัญญาจะเป็นผลทันทีที่สัญญาเกิด ส่วนผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญา ผลต่อเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี และประเด็นอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดของสัญญา ในสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าจะต้องพิจารณารูปแบบกระบวนการก่อให้เกิดของสัญญาก่อนว่าเป็น แบบใด จึงจะสามารถพิจารณาประเด็นดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง แตกต่างจากในสัญญาซื้อขายทั่วไปที่สามารถพิจารณาที่ตัวสัญญาได้ทันที โดยไม่ต้องพิจารณารูปแบบการเกิดของสัญญา สัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นสัญญามีชื่อที่มีกฎหมายบัญญัติหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่หากมิได้บัญญัติเรื่องใดไว้ อาจนำ ป.พ.พ. มาปรับใช้ได้เนื่องจากมีเป้าหมายในการโอนกรรมสิทธิ์และการชำระราคาเช่นเดียวกัน และแม้มิได้บัญญัติถึงรูปแบบการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าไว้ แต่ก็อาจตีความตามเจตนารมณ์ได้ โดยไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมาย |
บรรณานุกรม | : |
กรกช แก้วไพฑูรย์ . (2554). ปัญหาการเกิดของสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ภายใต้พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรกช แก้วไพฑูรย์ . 2554. "ปัญหาการเกิดของสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ภายใต้พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรกช แก้วไพฑูรย์ . "ปัญหาการเกิดของสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ภายใต้พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. กรกช แก้วไพฑูรย์ . ปัญหาการเกิดของสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ภายใต้พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|