ชื่อเรื่อง | : | การจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อลดภาระการทำความเย็น : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | กรุง กุลชาติ |
คำค้น | : | การปรับอากาศ , ความร้อน -- การถ่ายเท , อาคาร -- สมบัติทางความร้อน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , สุนทร บุญญาธิการ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746367528 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23874 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 ศึกษาภาระการทำความเย็นของห้องต่างๆ ในอาคาร เพื่อหาแนวทางในการจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคาร ให้สามารถลดขนาดโดยรวมของเครื่องปรับอากาศ และลดภาระการทำความเย็น โดยศึกษาจากพื้นที่บางส่วนของอาคารครุศาสตร์ และอาคารการศึกษานานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกรณีศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการตรวจสอบอาคารที่ศึกษา โดยการวัดค่าอุณหภูมิจากแหล่งความร้อนในตำแหน่งต่างๆ ของตัวอย่างห้อง แล้วนำไปคำนวณหาค่าภาระการทำความเย็นของแต่ละห้อง และภาระการทำความเย็นโดยรวม โดยวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบกรณีของทั้งสองอาคาร สำหรับความเหมาะสมในการลดขนาดเครื่องปรับอากาศ เมื่อมีการใช้ระบบร่วมกัน พบว่า กรณีของอาคารการศึกษานานาชาติ สามารถที่จะลดขนาดของระบบปรับอากาศโดยรวมลงได้มากกว่า เนื่องจากการใช้งานพื้นที่อาคารที่แตกต่างกัน และภาระการทำความเย็นสูงสุดของแต่ละห้องที่เกิดขึ้นในเวลาไม่ตรงกัน จึงได้เลือกศึกษาห้องของอาคารการศึกษานานาชาติ ในการวิเคราะห์ค่าภาระการทำความเย็นสูงสุดของแต่ละห้อง และในกรณีที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางร่วมกัน ผลของการวิจัยพบว่าในการใช้งานจริง ค่าภาระการทำความเย็นโดยรวมของอาคารการศึกษานานาชาติ ที่เกิดขึ้นจะมีค่าต่ำกว่าค่าที่ได้ออกแบบไว้ (ในแต่ละห้องจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดสูงกว่าการใช้งานจริงโดยทั่วไป) ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงระบบให้สามารถใช้ร่วมกัน จะทำให้ลดขนาดระบบปรับอากาศโดยรวมลงได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และลดการใช้พลังงานลงประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางจะมีค่าที่สูงขึ้น รวมทั้งการจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคารให้มีความสอดคล้องกับการเกิดภาระการทำความเย็นในแต่ละช่วงเวลา โดยการหลีกเลี่ยงที่จะใช้งานในเวลาที่เกิดภาระการทำความเย็นที่สูง ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงาน และลดค่าภาระการทำความเย็นสูงสุดของระบบปรับอากาศรวมได้อีกส่วนหนึ่ง จากผลของการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการปรับปรุงอาคาร ให้สามารถลดขนาดของระบบปรับอากาศโดยรวม และลดการใช้พลังงานของอาคารลงได้ |
บรรณานุกรม | : |
กรุง กุลชาติ . (2539). การจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อลดภาระการทำความเย็น : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุง กุลชาติ . 2539. "การจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อลดภาระการทำความเย็น : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุง กุลชาติ . "การจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อลดภาระการทำความเย็น : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. กรุง กุลชาติ . การจัดการการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อลดภาระการทำความเย็น : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|