ชื่อเรื่อง | : | การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด |
นักวิจัย | : | กมลกานต์ ปรีชาธีรศาสตร์ |
คำค้น | : | ผู้สูงอายุ -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ , การตรวจคัดโรค , ศัลยกรรม -- ปัจจัยเสี่ยง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิราพร เกศพิชญวัฒนา , สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22505 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม และการทบทวนข้อมูลย้อนหลังของผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด จำนวน 314 รายจากบันทึกทางการพยาบาล และบันทึกอาการ ได้ปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อคือ 1) อายุที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 75 ปี 2) ประวัติติดสุรา 3) ภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด 4) การได้รับยากลุ่ม Benzodiazepines, Anticholinergics 5) ความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา การคิด การรับรู้ 6) ระดับอิเล็กโตรไลท์ในเลือดไม่สมดุล 1-2 วันก่อนผ่าตัด และ 7) ระดับฮีโมโกลบิน ฮีมาโตรคริตที่ผิดปกติหลังผ่าตัด 1-2 วัน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเขตกรุงเทพฯ จำนวน 300 คน ผลการศึกษาพบผู้ป่วย 25 คนใน 300 คน ที่เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดตามการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน CAM ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัย คือ มีความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา การคิด การรับรู้ อายุที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 75 ปี มีประวัติการได้รับยากลุ่ม Benzodiazepines, Anticholinergics และมีภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด แต่ไม่มีรายใดมีประวัติการติดสุราจากการคัดกรองด้วยเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน และพบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงกับจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 (Yates’ Correction Chi-square 261.165 และค่าสหสัมพันธ์แบบ Cramer’s V 0.956) เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดที่สร้างขึ้น สามารถค้นหาบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดได้ เมื่อกำหนดเกณฑ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ปัจจัย ทั้งนี้เครื่องมือคัดกรองนี้ต้องการตรวจสอบความตรงรายปัจจัยในการบ่งชี้ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
กมลกานต์ ปรีชาธีรศาสตร์ . (2554). การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กมลกานต์ ปรีชาธีรศาสตร์ . 2554. "การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กมลกานต์ ปรีชาธีรศาสตร์ . "การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. กมลกานต์ ปรีชาธีรศาสตร์ . การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|