ชื่อเรื่อง | : | ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร |
นักวิจัย | : | วิภาพร ล้อมสิริอุดม, 2518- |
คำค้น | : | โรคฟันผุ , ฟันผุในเด็ก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล , ปิยะฉัตร พัชรานุฉัตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741715293 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/104 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การศึกษาเรื่องความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการอธิบายโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยของชาวบ้าน รวมทั้งพฤติกรรมการเลี้ยงดู การให้อาหาร นม และขนม พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากเด็ก การป้องกันและการจัดการเมื่อเด็กเกิดโรคฟันผุ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เจาะลึก การใช้สื่อแผ่นภาพ ร่วมกับการใช้ข้อมูลเอกสาร และการตรวจสภาพช่องปากเด็ก ในเด็กตัวอย่าง 38 ราย และกรณีศึกษา 12 ครอบครัว ใช้เวลาเก็บข้อมูลรวม 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนการอธิบายโรคฟันผุของชาวบ้าน มีทั้งส่วนที่สอดคล้องและแตกต่างกับแนวคิดทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผลจากการมีพื้นฐานความคิดบนความจริงที่ต่างกัน ส่วนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กนั้น พบว่าชาวบ้านมีการผสมผสานความรู้ที่ได้รับจากหลายแหล่งร่วมกันจนนำไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการขัดเกลาทางสังคมโดยการถ่ายทอดในระดับครอบครัวและชุมชน โรงเรียน สื่อต่างๆ รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ชาวบ้านมีวิธีคิดและการปฏิบัติที่ยอมรับความเป็นไปตามธรรมชาติ ให้ความหมายความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เห็นเด่นชัด ให้คำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม คาดหวังการรักษาเพียงบรรเทาอาการเจ็บปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน ชาวบ้านเลือกที่จะดูแลรักษาตนเองเป็นอันดับแรกเมื่อมีปัญหาจากโรคฟันผุ การตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการและประสบการณ์การรักษา การให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาจถูกชาวบ้านแปลความหมายที่ต่างออกไปได้ การทำความเข้าใจต่อวิธีคิดและการปฏิบัติของชาวบ้านดังกล่าว จะช่วยในการหามาตรการที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับวิธีคิดและวิถีชีวิตของชาวบ้าน อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
วิภาพร ล้อมสิริอุดม, 2518- . (2545). ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิภาพร ล้อมสิริอุดม, 2518- . 2545. "ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิภาพร ล้อมสิริอุดม, 2518- . "ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. วิภาพร ล้อมสิริอุดม, 2518- . ความเข้าใจและการปฏิบัติแบบชาวบ้านเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|