ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ |
นักวิจัย | : | ชาตรี ชะโยชัยชนะ, 2507- |
คำค้น | : | การบันทึกภาพด้วยรังสี , กะโหลกศีรษะ--การบันทึกภาพรังสี , ทันตกรรมจัดฟัน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมศักดิ์ เจิ่งประภากร , สุนทรา พันธ์มีเกียรติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741722249 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/102 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าระยะทางและค่ามุมที่วัดได้จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะ 5 โปรแกรม เปรียบเทียบกับการวัดด้วยมือ ตามเกณฑ์ของ สไตเนอร์ และเกณฑ์ของ ริกเกทส์ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 32 คน อายุระหว่าง11-27 ปี(เฉลี่ย 16.06 ปี) ฟันอยู่ในระยะฟันแท้ ไม่มีฟันคุดหรือพยาธิสภาพมาบังทับรากฟันหน้าและฟันกรามแท้ซี่แรก นำภาพรังสีมาทำการลอกลายและกำหนดจุดอ้างอิงตามวิธีการวิเคราะห์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 5 โปรแกรมคือ 1.Dentofacial planner, 2.Quick-ceph image, 3.RMO's Jiffy Orthodontic Evaluation, 4.Compu-ceph, 5.OTP รวมทั้งวิเคราะห์ด้วยมือจากภาพลอกลาย ทำการวัดค่าระยะทางและค่ามุมตามเกณฑ์ของ สไตเนอร์ 9 ค่า และเกณฑ์ของ ริกเกทส์ 9 ค่า และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทำการทดสอบความแตกต่างพหุคูณ(Multiple comparison tests) แบบ Post Hoc test ตามวิธี Tukey ผลการวิจัยพบความแตกต่างของค่า POG-NB(mm.)ของโปรแกรมJOEและค่า U6-PTV(mm.),L1-APO(deg.) และ Facial axis angle(deg.) ของโปรแกรม Compu-ceph ซึ่งมีเพียง 4 ค่าจากค่าตัวแปรที่ใช้ทั้งหมด18 ค่าทำให้สรุปได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทั้ง 5 โปรแกรม สามารถที่จะใช้ทดแทนการวิเคราะห์ด้วยมือได้ การเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดควรพิจารณาความเหมาะสมที่ใช้และควรศึกษาวิธีการขั้นตอนการใช้ของโปรแกรมโดยละเอียด รวมทั้งข้อจำกัดและคำนิยามที่แตกต่างของค่าตัวแปรของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ ผู้ใช้ควรฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะเป็นอย่างดี เพื่อลดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการกำหนดจุดอ้างอิง (Landmark identification) เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะ ได้อย่างถูกต้อง |
บรรณานุกรม | : |
ชาตรี ชะโยชัยชนะ, 2507- . (2545). การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาตรี ชะโยชัยชนะ, 2507- . 2545. "การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาตรี ชะโยชัยชนะ, 2507- . "การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ชาตรี ชะโยชัยชนะ, 2507- . การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|