ชื่อเรื่อง | : | ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา |
นักวิจัย | : | นันทินี ศุภมงคล, 2522- |
คำค้น | : | ความวิตกกังวล , การสนับสนุนทางสังคม , การปรับตัว (จิตวิทยา) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุภาพรรณ โคตรจรัส , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745314285 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/93 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 679 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดความวิตกกังวล แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ และความวิตกกังวลประจำตัวน้อย และใช้กลวีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา และแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมาก และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีค่อนข้างน้อย 2. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม และในด้านอารมณ์ และด้านข้อมูลข่าวสารเป็นอย่างมาก ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน และด้านสิ่งของ แรงงาน และการเงินในระดับค่อนข้างมาก และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีน้อยกว่านิสิตนักศึกษาชาย 4. นิสิตนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ มากกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และมนุษยศาสตร์ 5. นิสิตนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์น้อยกว่าและใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม และในด้านการประเมินน้อยกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านสิ่งของ แรงงาน และการเงินน้อยกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิชามนุษยศาสตร์ 6. นิสิตนักศึกษาที่พักอาศัยที่หอพักนิสิตมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ และความวิตกกังวลประจำตัวน้อยกว่าและใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหามากกว่านิสิตนักศึกษาที่พักอาศัยที่บ้าน และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่านิสิตนักศึกษาที่พักอาศัยที่อื่นๆ 7. นิสิตนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัดมีความวิตกกังวล ต่อสถานการณ์น้อยกว่า และได้การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และด้านสิ่งของ แรงงานและการเงิน และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหามากกว่านิสิตนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร 8. ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคม และกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี และกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีไม่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคม 9. กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา แบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวก |
บรรณานุกรม | : |
นันทินี ศุภมงคล, 2522- . (2547). ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทินี ศุภมงคล, 2522- . 2547. "ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทินี ศุภมงคล, 2522- . "ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นันทินี ศุภมงคล, 2522- . ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|