ชื่อเรื่อง | : | สตรีราชสำนักไทใหญ่ในเรื่องเล่าของนักเขียนสตรีร่วมสมัย : การศึกษาบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว |
นักวิจัย | : | จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, 2523- |
คำค้น | : | สตรี--ฉาน (พม่า) , ไทยใหญ่--ความเป็นอยู่และประเพณี , สตรีในวรรณกรรม , นักประพันธ์สตรี |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ตรีศิลป์ บุญขจร , ชุติมา ประกาศวุฒิสาร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766661 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาบทบาทสตรีในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะในเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต 3 เรื่อง ได้แก่ Twilight over Burma: My life as a Princess (1994) ของ Inge Sargent, The White Umbrella (1999) ของ Partricia Elliott, and My Vanished World: the True Story of a Shan Princess (2000) ของ Nel Adam รวมทั้งศึกษาองค์ประกอบวรรณกรรม และบริบททางสังคมวัฒนธรรมและการเมืองไทใหญ่ในเรื่องเล่านี้ด้วย ผลการศึกษาสรุปว่า งานเขียนทั้ง 3 ชิ้นแสดงให้เห็นบทบาทของสตรีราชสำนักไทใหญ่ ในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ บทบาทของสตรีราชสำนักไทใหญ่ในพื้นที่ส่วนตัว คือบทบาทในครอบครัว ทั้งในสถานภาพความเป็นลูก เป็นภรรยาและเป็นแม่ โดยสตรีสามารถขึ้นเป็นผู้นำครอบครัวและมีอำนาจตัดสินใจมากขึ้น ส่วนบทบาทสตรีในพื้นที่สาธารณะ คือบทบาททางสังคมและการเมือง สตรีราชสำนักไทใหญ่ได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำ เรียกร้องความเป็นธรรมและเอกราชไทใหญ่ และมีบทบาททางการเมืองและสังคม บทบาทที่เกิดขึ้นผูกติดอยู่กับบริบททางสังคมการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป บทบาทของสตรีที่เกิดขึ้นยังแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยเฉพาะการเป็นสตรีราชสำนักไทใหญ่ การเป็นสตรีราชสำนักไทใหญ่ทำให้เรื่องส่วนตัวกลายเป็นเรื่องการเมือง เพราะบทบาทที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งถูกกำหนดจากเงื่อนไขหรือปัจจัยของสังคม เช่น การแต่งงานที่มีนัยยะทางการเมืองเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อกันในอนาคต หรือการใช้งานครัวหรือการสมาคมเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ เป็นต้น ด้านการศึกษาองค์ประกอบวรรณกรรมพบว่า งานเขียนทั้ง 3 ชิ้น มีลักษณะเป็นเรื่องเล่าที่อิงกับประสบการณ์ของสตรีราชสำนักไทใหญ่ ที่ชี้ให้เห็นผลกระทบอันรุนแรงในสมัยนายพลเนวินเข้าปกครอง ซึ่งทำให้ครอบครัวผู้ประพันธ์และสังคมไทใหญ่ล่มสลาย พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาลพม่า โดยใช้เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือ ดังนั้น ผู้ประพันธ์จึงใช้รูปแบบผสมคือนำงานเขียนทางประวัติศาสตร์ งานเขียนทางชาติพันธุ์ ตำนานผนวกเข้ากับเรื่องเล่าเชิงอัตชีวประวัติ เพื่อนำเสนอประสบการณ์และถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตน |
บรรณานุกรม | : |
จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, 2523- . (2547). สตรีราชสำนักไทใหญ่ในเรื่องเล่าของนักเขียนสตรีร่วมสมัย : การศึกษาบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, 2523- . 2547. "สตรีราชสำนักไทใหญ่ในเรื่องเล่าของนักเขียนสตรีร่วมสมัย : การศึกษาบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, 2523- . "สตรีราชสำนักไทใหญ่ในเรื่องเล่าของนักเขียนสตรีร่วมสมัย : การศึกษาบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, 2523- . สตรีราชสำนักไทใหญ่ในเรื่องเล่าของนักเขียนสตรีร่วมสมัย : การศึกษาบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|