ชื่อเรื่อง | : | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | วีรญา แพ่งแสง, 2522- |
คำค้น | : | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์--ไทย--กรุงเทพฯ , การวิเคราะห์อนุกรมเวลา , การวิเคราะห์การถดถอย , มลพิษทางอากาศ--ไทย--กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดุษฎี ชาญลิขิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741769806 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ปัญหามลภาวะทางอากาศ จัดเป็นปัญหาหลักที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก สาเหตุหลักของปัญหามาจากการเพิ่มขึ้นของยานพาหนะต่างๆ จนทำให้เกิดสภาพการจราจรที่แน่นขนัด และนับวันปัญหานี้จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นด้วย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการวิเคราะห์อนุกรมเวลา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ มาบูรณาการกัน ผู้วิจัยได้ศึกษาก๊าซมลพิษทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 13 แห่ง ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอ และทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ช่วงความเข้มของปริมาณก๊าซมลพิษ ในเขตที่ไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ถูกต้องได้ ดังนั้นเทคนิคการประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial interpolation) สามารถคาดการณ์ความเข้มของปริมาณก๊าซมลพิษในแต่ละพื้นที่ ที่ไม่มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศได้ จากการประมาณค่าเชิงพื้นที่จะได้ผลลัพธ์แบ่งเป็นช่วงความเข้ม ของก๊าซมลพิษเท่าแต่ละชนิด และผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์คือ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตจตุจักร บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ราชเทวี ลาดพร้าว สาทร และพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตบางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา สาทร ซึ่งพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษทางอากาศของก๊าซมลพิษทั้ง 2 ชนิดนี้ ครอบคลุมพื้นที่ในย่านใกล้เคียงกัน เป็นแหล่งชุมชนที่หนาแน่น และเป็นแหล่งศูนย์กลางทางธุรกิจ สภาพการจราจรที่แออัด ผลจากการศึกษาพบว่า บริเวณดังกล่าวมีช่วงความเข้มของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ในระดับที่สูง ซึ้งคิดเป็น 28.53% และ 23.21% ของพื้นที่ศึกษา ตามลำดับ สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้แก่เขต บางกะปิและสวนหลวง คิดเป็น 29.06% ของพื้นที่ศึกษา |
บรรณานุกรม | : |
วีรญา แพ่งแสง, 2522- . (2547). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วีรญา แพ่งแสง, 2522- . 2547. "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วีรญา แพ่งแสง, 2522- . "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. วีรญา แพ่งแสง, 2522- . ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|