ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา |
นักวิจัย | : | นุติยาพร วงษ์เณร |
คำค้น | : | การรับรู้ภาพ , การแปลความหมายภาพ , สุนทรียภาพ , ทัศนศิลป์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) , ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อำไพ ตีรณสาร , พิมพันธ์ เดชะคุปต์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21309 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพ ของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ด้วยการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบ ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนกับกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 47 คน โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ใช้เวลาทดลอง 20 สัปดาห์ ตามรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบแผนอนุกรมเวลา เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน การสอนซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัขนีความสอดคล้อง 0.70 ทั้ง 2 ฉบับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F-test และวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการ 2 ประการคือ 1) พัฒนาการ สุนทรียภาพของนักเรียนเริ่มตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสูงสุด คือ (1) ความชื่นชอบ (2) ความงามและความจริง (3) การแสดงออก (4) แบบอย่างและรูปแบบ (5) ความเป็นตัวตน และ 2) สามารถพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะของ นักเรียนตามขั้นพัฒนาการสุนทรียภาพจากขั้นแรกสู่ขั้นสูงสุดโดยใช้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นรับรู้ทางทัศน์ (2) ขั้นสื่อสารงานศิลป์ (3) ขั้นวิเคราะห์โครงสร้าง (4) ขั้นแปลความหมาย ผลงาน (5) ขั้นประเมินคุณค่า และ (6) ขั้นกิจกรรมศิลปะปฏิบัติ 2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน จากการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และ หาประสิทธิผลพบว่า นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของ พาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะมีระดับการพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
บรรณานุกรม | : |
นุติยาพร วงษ์เณร . (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุติยาพร วงษ์เณร . 2553. "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุติยาพร วงษ์เณร . "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. นุติยาพร วงษ์เณร . การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|