ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์ |
นักวิจัย | : | จินตนา สายทองคำ |
คำค้น | : | ประสิทธิผลองค์การ , ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา , ประกันคุณภาพ , ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ , ปทีป เมธาคุณวุฒิ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21296 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถาบัน รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพ (Balanced Scorecard) เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้บริหาร และผู้สอน ของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมทั่วประเทศรวม 18 หน่วยงาน จำนวนตัวอย่าง 316 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) 2 ครั้ง ตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน คือตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์อันเป็นลักษณะเฉพาะของสถาบัน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถาบันมีจำนวน 9 องค์ประกอบ เรียงตามลำดับคือ 1)คุณลักษณะและบทบาทผู้นำ 2)การเรียนรู้และพัฒนา 3)คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา 4)โครงสร้างและการดำเนินงานของสถาบัน 5)การบริหารการเงิน 6)ความสามารถและความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ 7)สภาพแวดล้อมภายในสถาบัน 8) สภาพแวดล้อมภายนอกและโอกาสของสถาบัน 9)คุณลักษณะของอาจารย์ 3. ตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพประกอบด้วย 4 มุมมอง 48 ตัวชี้วัด คือ มุมมองด้านการเงิน 10 ตัวชี้วัด มุมมองด้านลูกค้า 7 ตัวชี้วัด มุมมองด้านกระบวนการภายใน 24 ตัวชี้วัด และมุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา 10 ตัวชี้วัด โดยจัดทำเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดในระบบแต้ม (Point System) ใช้เกณฑ์สองลักษณะ คือ เกณฑ์ตรวจสอบด้านกระบวนการ และเกณฑ์แสดงคุณภาพด้านปริมาณของตัวชี้วัด |
บรรณานุกรม | : |
จินตนา สายทองคำ . (2553). การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จินตนา สายทองคำ . 2553. "การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จินตนา สายทองคำ . "การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. จินตนา สายทองคำ . การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคดุลยภาพของสถาบันอุดมศึกษาวิชาชีพเฉพาะสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|