ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ผกาทิพย์ กระหม่อมทอง |
คำค้น | : | ค่านิยมทางการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุนันทา สุวรรโณดม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2522 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21083 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้มิได้มุ่งที่จะพิสูจน์สมมุติฐานใดๆ แต่มุ่งที่จะศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาของบุตรของบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบท โดยพิจารณาจากปัจจัยทางด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ข้อมูลที่ได้จากโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรของประเทศไทย ในส่วนที่เป็นการวิจัยทั้งเขตเมืองและเขตชนบท ระหว่างเดือน เมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2513 ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยสถาบันประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนชายและภรรยารวมทั้งสตรีที่สมรสแล้วในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง อายุไม่เกิน 60 ปี แต่ในการศึกษาเรื่องความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรนั้น สัมภาษณ์เฉพาะหัวหน้าครัวเรือนชายที่มีบุตรชายอายุ 6-12 ปี ถ้ามีบุตรชายในวัยนี้หลายคน จะถามถึงการมุ่งหวังที่มีต่อบุตรชายคนสุดท้อง ผลการศึกษาปรากฏว่า โดยทั่วไปแล้วบิดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บทเรียนในระดับสูงกว่าบิดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตชนบท และมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมากที่สุด รองลงมาคือ เรียนเท่าที่จะสามารถจะเรียนได้ สำหรับบิดาในเขตชนบทส่วนใหญ่จะมุ่งหวังให้บทเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด และรองลงมาจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และเท่าที่สามารถตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางด้านประชากร พบว่า บิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทุกกลุ่มอายุ จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตชนบททุกกลุ่มอายุ และบิดาในกลุ่ม 15-29 ปี ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับสูงกว่าบิดากลุ่มอายุ 30-49 ปี และ 50 ปีขึ้นไป ขณะเดียวกันบิดากลุ่มอายุ 15-29 ปีในเขตชนบทมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุดเมื่อนำเอาจำนวนบุตรที่มีอยู่ของบิดามาพิจารณาประกอบได้พบว่า บิดาในเขตเมืองไม่ว่าจะมีบุตรจำนวนเท่าใดก็ตามจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่มีจำนวนบุตรเท่าๆ กันแต่อาศัยอยู่ในเขตชนบท นอกจากนี้ยังพบว่า บิดาในเขตเมืองที่มีบุตรน้อย (1-3 คน) จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่มีบุตรมาก (ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป) ในขณะที่ในเขตชนบทนั้นบิดาที่มีจำนวนบุตรมาก (ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป) จะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษาสูงกว่าบิดามีบุตรน้อย (1-3 คน) สำหรับบิดาที่ต้องการบุตรเพิ่ม จะมีส่วนสัมพันธ์กับความมุ่งหวังในการศึกษาของบุตรด้วยหรือไม่นั้นได้พบว่า บิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ต้องการบุตรเพิ่มและไม่ต้องการบุตรเพิ่ม จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่ต้องการบุตรเพิ่มและไม่ต้องการบุตรเพิ่มในเขตเมืองไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่บิดาต้องการบุตรเพิ่มและไม่ต้องการบุตรเพิ่มในเขตชนบทมีความมุ่งหวังในการศึกษาของบุตรแตกต่างกันเล็กน้อย ในเรื่องการย้ายถิ่นพบว่า บิดาในเขตเมืองทั้งที่เคยย้ายถิ่นและไม่เคยย้ายถิ่นจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่อาศัยในเขตชนบททั้งที่เคยย้ายถิ่นและไม่เคยย้ายถิ่นและพบว่าบิดาที่มีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นในเขตเมืองและเขตชนบท จะมีความมุ่งหวังในการศึกษาของบุตรไม่แตกต่างกัน ในขณะที่บิดาในเขตชนบทที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นเลยจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด และมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปรองลงมา ส่วนบิดาที่มีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป จะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษาน้อยลง และมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจพบว่า บิดาที่ประกอบอาชีพข้าราชการค้าขาย ช่างและบริการที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเช่นเดียวกับบิดาที่อยู่ในเขตชนบทในกลุ่มอาชีพเดียวกัน และบิดาที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมากที่สุด ส่วนบิดาที่ประกอบอาชีพเดียวกันในเขตชนบทจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด และพบว่าบิดาในเขตเมืองและเขตชนบทที่ประกอบอาชีพที่ใช้ความรู้ความชำนาญสูงกว่า เช่น ข้าราชการ จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับที่สูงกว่าบิดาที่ประกอบอาชีพที่ใช้ความรู้ความชำนาญต่ำกว่า เช่น อาชีพเกษตรกรรมในเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจนั้นพบว่า บิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทุกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมากที่สุด รองลงมามุ่งหวังให้บุตรเรียนเท่าที่สามารถ และบิดาฐานะร่ำรวยจะมีความมุ่งหวังระดับนี้สูงกว่าบิดาฐานะปานกลางและยากจน ส่วนบิดาในเขตชนบทจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด โดยเฉพาะบิดาที่มีฐานะยากจนจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับนี้สูงกว่าบิดาฐานะปานกลางและร่ำรวย เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางด้านสังคมและจิตวิทยา ได้แก่การศึกษา พบว่าบิดาที่มีการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 7 ขึ้นไปอาศัยอยู่ในเขตเมือง จะมีความมุ่งหวังให้บุตรได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเช่นเดียวกับบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทที่มีการศึกษาระดับเดียวกัน และบิดาที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 7 ขึ้นไปอาศัยอยู่ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ส่วนบิดาที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 7 ในเขตชนบทจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษา และทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท บิดาที่มีการศึกษาสูงจะมีความมุ่งหวังในการศึกษาสูงกว่าบิดาที่มีการศึกษาต่ำกว่าหรือไม่มีการศึกษาเลย ในเรื่องการได้รับและการติดต่อทางสื่อสารมวลชน พบว่า บิดาในเขตเมืองที่เคยมีโอกาสได้รับหรือติดต่อกับสื่อสารมวลชน และไม่เคยติดต่อเลยจะมีความมุ่งหวังให้บุตรได้เรียนในระดับที่สูงกว่าบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและพบว่าบิดาที่เคยมีโอกาสได้รับหรือติดต่อกับสื่อสารมวลชนจะมีความมุ่งหวังสูงกว่าบิดาที่ไม่เคยมีโอกาสได้รับการติดต่อกับสื่อสารมวลชนเลย |
บรรณานุกรม | : |
ผกาทิพย์ กระหม่อมทอง . (2522). การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผกาทิพย์ กระหม่อมทอง . 2522. "การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผกาทิพย์ กระหม่อมทอง . "การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522. Print. ผกาทิพย์ กระหม่อมทอง . การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2522.
|