ชื่อเรื่อง | : | การบริหารงานของสำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ |
นักวิจัย | : | ปรีชา เรืองจันทร์ |
คำค้น | : | ปกครองท้องถิ่น -- ไทย , เพชรบูรณ์ -- การเมืองการปกครอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไพโรจน์ สิตปรีชา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2523 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20972 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 ปัญหาหลักอย่างหนึ่งของการพัฒนาการบริหารงานราชการไทยที่ประสบอยู่คือปัญหาปัจจัยหรือองค์ประกอบในการบริหารซึ่งประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารหรืการจัดการ ผลจากการศึกษาและวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีอยู่จริงในวงการบริหารทั่วไปทั้งภาคธุรกิจเอกชนและราชการ ซึ่งฝ่ายหลังเป็นงานที่ต้องสัมพันธ์กับประชาชนอยู่ตลอดเวลาและเป็นงานที่เน้นบริการคนส่วนใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้นำเอางานราชการขึ้นมาศึกษาวิจัยโดยเลือกศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการรวบรวมข้อมูลได้อาศัยผลการวิจัยและเอกสารทางวิชาการ เอกสารทางราชการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถาม การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้คือการวิเคราะห์สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานซึ่งจะนำไปสู่ข้องเสนอแนะแนวทางแก้ไขและจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นไปตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถดำเนินการเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดและเป็นศูนย์ประสานแผนและโครงการของทุกกระทรวง ทบวงกรม ในจังหวัดได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยตั้งสมมติฐานว่า 1) สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ไม่สามารถเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานและประสานงานของผู้ว่าราชการจังหวัดที่แท้จริงเพราะประสบปัญหาการบริหารงานของสำนักงานจังหวัด 2) ปัญหาการบริหารงานซึ่งได้แก่การขาดแคลนทรัพยากรในการบริหารของสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์คล้ายคลึงกับปัญหาในการบริหารงานของสำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด 3) หากแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์จะเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานและประสานงานของผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างสบบูรณ์แบบ การศึกษาวิจัย ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาในการบริหารงานของสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์กับปัญหาการบริหารงานของสำนักงานจังหวัดทั่วไปคล้ายคลึงกัน คือปัญหาปัจจัยหรือองค์ประกอบในการบริหารงานได้แก่ คน เงิน วัสดุ และการจัดการ โดยสรุปปัญหาได้ดังนี้ 1. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจังหวัดมีน้อยไม่สมดุลย์กับปริมาณงาน 2. งบประมาณไม่เพียงพอ 3. ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 4. อำนาจและหน้าที่ของหัวหน้าสำนักงานจังหวัดไม่สมดุลย์กัน ทั้งนี้เพราะหัวหน้าสำนักงานจังหวัดไม่ได้เป็นหัวหน้าส่วนราชการ หน้าที่จึงมีมากกว่าอำนาจและปัญหาความไม่เข้าใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัด เพราะขาดการฝึกอบรมแนวทางการปฏิบัติงานของสำนักงานจังหวัด 5. การประสานงานได้รับความร่วมมือส่วนราชการประจำจังหวัดน้อย 6. สถานที่ปฏิบัติงานคับแคบ 7. ขาดเจ้าหน้าที่ชำนาญเฉพาะด้าน 8. ความไม่มีเอกภาพในการสั่งการของส่วนกลางยิ่งกว่านั้น การศึกษาวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับหัวหน้าสำนักงานจังหวัดมีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินการของสำนักงานจังหวัดอย่างมากหากแต่ว่าผลกระทบกระเทือนจะเป็นไปในรูปใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาวิจัยที่จะมีต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
ปรีชา เรืองจันทร์ . (2523). การบริหารงานของสำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรีชา เรืองจันทร์ . 2523. "การบริหารงานของสำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรีชา เรืองจันทร์ . "การบริหารงานของสำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523. Print. ปรีชา เรืองจันทร์ . การบริหารงานของสำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2523.
|