ชื่อเรื่อง | : | การสำรวจสถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรมของธนาคาร ในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | พงศ์ศิษฎ์ ไทยสีหราช |
คำค้น | : | การสอนด้วยสื่อ , การฝึกอบรม , ธนาคารและการธนาคาร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2526 |
อ้างอิง | : | 9745618128 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20929 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสถานภาพของการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรม ของธนาคารในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาความต้องการหน่วยโสตทัศนศึกษา และนักวิชาการโสตทัศนศึกษา เพื่อใช้ในโปรแกรมฝึกอบรมของธนาคารในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาปัญหาของการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรม ของธนาคารในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาส่วนบุคคลของธนาคารที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยเอาเฉพาะสำนักงานใหญ่ของแต่ละธนาคาร และธนาคารของสาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศไทย รวมมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ธนาคารโดยเก็บข้อมูลธนาคารละ 1 คน รวมจำนวนประชากรมี 40 คน นำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ และมัชฌิมเลขคณิต ผลสรุปการวิจัย 1. ธนาคารส่วนใหญ่จะเลือกสื่อการสอนโดยยึดจุดมุ่งหมายของเรื่องที่จะฝึกอบรมเป็นหลัก และจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีธนาคารเหมาะสมกับธนาคารของห้องและจะต้องเป็นสื่อการสอนที่ให้แนวคิดเพียงแห่งเดียวเป็นหลัก นอกจากนี้ก่อนที่จะใช้สื่อการสอนจะมีการเตรียมพร้อมทั้งตัวผู้ให้การอบรม สื่อการสอน และห้องที่จะใช้ฝึกอบรม ในการใช้ก็จะใช้สื่อการสอนเพื่ออธิบายเนื้อหา นำเข้าสู่เรื่อง สรุปเนื้อหาและใช้ฝึกทักษะของเนื้อหาที่อบรมในตอนนั้นๆ เป็นหลัก ส่วนสื่อการสอนที่ใช้มากคือ กระดานดำ แผนภูมิ แผนภาพ ของตัวอย่าง ของจริงการแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ระบบขยายเสียงและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง ส่วนสื่อการสอนที่ใช้น้อยคือภาพโฆษณา ของจำลอง ตู้อันตรทัศน์ การจัดแสดง การจัดนิทรรศการ การเล่นแบบละคร เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 2. ธนาคารส่วนใหญ่ต้องการให้มีหน่วยโสตทัศนศึกษาโดยจัดเป็นห้องต่างหากและให้มีอยู่ในสำนักงานใหญ่และที่สาขาสำคัญแต่ละภาคในประเทศ สื่อการสอนที่ธนาคารต้องการมากคือ อุปกรณ์ประเภทเครื่องฉายและเครื่องเสียง ส่วนนักวิชาการโสตทัศนศึกษาที่ธนาคารต้องการจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้ มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 3 ปี และต้องการนักวิชาการโสตทัศนศึกษาที่มีความชำนาญทางการถ่ายภาพ การผลิตสไลด์ การใช้เครื่องฉายต่างๆ รวมทั้งสามารถเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อการสอน 3. ปัญหาที่พบมากคือ จำนวนสื่อการสอนมีน้อย ไม่มีผู้ให้คำแนะนำในการเลือกผลิตหรือใช้สื่อการสอน ไม่มีเวลาทำสื่อการสอน ไม่มีหน่วยบริการสื่อการสอน และขาดทักษะในการใช้สื่อการสอนประเภทเครื่องฉายและเครื่องเสียง ข้อเสนอแนะ 1. สถาบันศึกษาที่ผลิตนักวิชาการโสตทัศนศึกษา หรือนักเทคโนโลยีทางศึกษาควรจะได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของธนาคาร หรือหน่วยงานที่จะรับนักวิชาการโสตทัศนศึกษาเข้าทำงาน และควรเน้นทางด้านการฝึกฝนทักษะทางการผลิต และใช้สื่อการสอนให้มาก 2. ธนาคารควรจะตั้งหน่วยทัศนศึกษา รับนักวิชาการโสตทัศนศึกษาเข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับการสอนที่ใช้ในการฝึกอบรมโดยเฉพาะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมฝึกอบรม |
บรรณานุกรม | : |
พงศ์ศิษฎ์ ไทยสีหราช . (2526). การสำรวจสถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรมของธนาคาร ในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงศ์ศิษฎ์ ไทยสีหราช . 2526. "การสำรวจสถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรมของธนาคาร ในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงศ์ศิษฎ์ ไทยสีหราช . "การสำรวจสถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรมของธนาคาร ในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526. Print. พงศ์ศิษฎ์ ไทยสีหราช . การสำรวจสถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรมของธนาคาร ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2526.
|