ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤต |
นักวิจัย | : | นภาพร นุ่มมีชัย |
คำค้น | : | ผู้ป่วยใกล้ตาย -- การดูแล , การพยาบาล , ความวิตกกังวล , ผู้ป่วยหนัก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชนกพร จิตปัญญา , เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20599 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤตและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤตกับความรุนแรงของความเจ็บป่วย ระยะเวลาที่นอนรับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ชนิดของการย้าย การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ และความรู้สึก ไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตและได้รับการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตไปยังหอผู้ป่วยทั่วไปของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากไอซียู แบบวัดความรุนแรงของอาการ แบบสอบถามการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ และแบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยที่ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและจากการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ .96, .86, และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์อีตา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผู้ป่วยที่ย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตมีความวิตกกังวลจากการย้ายอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลจากการย้ายเท่ากับ 2.52 (SD = .599) 2.ชนิดของการย้ายมีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้ายในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (Eta = .229) 3.ระยะเวลาที่นอนรับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลจากการย้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .280 และ .414 ตามลำดับ) 4.ความรุนแรงของความเจ็บป่วยและการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์มีความ สัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลจากการย้าย |
บรรณานุกรม | : |
นภาพร นุ่มมีชัย . (2550). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤต.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นภาพร นุ่มมีชัย . 2550. "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤต".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นภาพร นุ่มมีชัย . "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤต."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. นภาพร นุ่มมีชัย . ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยวิกฤต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|