ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด |
นักวิจัย | : | รัชนีวรรณ ตั้งภักดี |
คำค้น | : | โรงพยาบาล -- บริการส่งเสริมสุขภาพ , การเรียนรู้ -- สุขภาพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง , ชัยยงค์ พรหมวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19888 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 การวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับ โรงพยาบาลระดับจังหวัด มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด โดยสำรวจสภาพและปัญหาการดำเนินงานในปัจจุบันของศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด จำนวน 4 แห่ง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2)สร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด แล้วตรวจสอบต้นแบบระบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานเทคโนโลยีสื่อสารด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้ระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัดในโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ (1) โรงพยาบาลตรัง (2) โรงพยาบาลมหาสารคาม และ (3)โรงพยาบาลอุทัยธานี โดยผู้วิจัยติดตามผลการใช้ต้นแบบระบบด้วยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและศึกษาผลการใช้ต้นแบบระบบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนคณะทำงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพของโรงพยาบาลทดลอง 4) รับรองและนำเสนอระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด ผู้วิจัยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มตัวแทนคณะทำงานศูนย์การเรียนรู้จากโรงพยาบาลระดับจังหวัด 5 แห่ง จำนวน19 คน ในการรับรองระบบแล้วจึงนำเสนอระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า ระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 4 ระบบหลัก และ 6 ระบบย่อย ดังนี้ 1. ระบบจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการการพัฒนาศูนย์ฯ 2) จัดเตรียมความพร้อมในการพัฒนาศูนย์ฯ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและ/หรือคณะทำงานศูนย์ฯ 4) จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์ฯ และ 5) ดำเนินงานตามแผนงานในโครงการพัฒนาศูนย์ฯ 2. ระบบวางแผนการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ศูนย์ฯ 2) เลือก/จัดลำดับการพัฒนาระบบย่อย 3) จัดทำโครงการ และแผนดำเนินงาน พัฒนาระบบย่อยของศูนย์ฯ 4) จัดประชุมชี้แจงแผนงานในโครงการพัฒนาศูนย์ฯแก่ คณะกรรมการบริหารและคณะทำงานศูนย์ฯของโรงพยาบาล 5) ปฏิบัติตามแผนดำเนินงานพัฒนาระบบย่อย ของศูนย์ฯ และ 6) พิจารณาปรับปรุงแผนดำเนินงานพัฒนาระบบงานย่อยของศูนย์ฯ 3. ระบบดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 6 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบพัฒนามุมความรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี 9 ขั้นตอน) (2) ระบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี11 ขั้นตอน) (3) ระบบสนับสนุนเครือข่ายการเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี10 ขั้นตอน) (4) ระบบจัดหาและผลิตสื่อสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (มี11 ขั้นตอน) (5) ระบบจัดเก็บข้อมูลความรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ(มี 9 ขั้นตอน) และ (6)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ( มี 8 ขั้นตอน) 4. ระบบประเมินการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบุงานและบุคคลที่จะประเมิน 2) กำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน 3) สร้างเกณฑ์การประเมิน 4) กำหนดวิธีการและสร้างเครื่องมือในการประเมิน 5) ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการและเกณฑ์การประเมินให้ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน 6) ดำเนินการประเมิน และ 7) รายงานและทบทวนผลการประเมินร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน |
บรรณานุกรม | : |
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี . (2552). การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัชนีวรรณ ตั้งภักดี . 2552. "การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัชนีวรรณ ตั้งภักดี . "การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. รัชนีวรรณ ตั้งภักดี . การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้สุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|