ชื่อเรื่อง | : | การประเมินผลการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล |
นักวิจัย | : | อุษณ จันทรทรัพย์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19424 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติเป็นกลยุทธ์หลักในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคทางด้านสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลที่มีทรัพยากรจำกัด การระบายอากาศธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ใช้ต้นทุนต่ำในการเจือจางและลดการปนเปื้อนทางอากาศที่มี ประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการระบายอากาศด้วยวิธีกล ในปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากที่ตรวจสอบด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศในสถานพยาบาล แต่ผลที่ได้จากการจำลองเหล่านี้ ยังไม่ได้มีการเพิ่มเติมปัจจัยอื่นๆที่อาจพบได้ในสถานการณ์จริง บทความวิจัยนี้จึงทำการศึกษาข้อมูลของโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย เน้นการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในหอผู้ป่วยโรงพยาบาล โดยทำการจำลองผลด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics; CFD) เพื่อศึกษารูปแบบช่องเปิดที่มีผลต่อการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ ช่องเปิดที่ระดับพื้นที่ใช้งาน แบ่งออกเป็น ช่องเปิดแบบปัจจุบัน ช่องเปิดแบบต่อเนื่อง และช่องเปิดแบบเป็นช่วง และช่องเปิดที่ระดับเหนือพื้นที่ใช้งาน โดยศึกษาที่ตำแหน่งระดับความสูงของช่องเปิด ได้แก่ ระยะ 0.00 , 0.40 , 0.80 และ 1.20 เมตร ของกรณีศึกษา 6 แบบ ผลการวิจัยพบว่า ณ ความเร็วลมจากภายนอกอาคารที่ 0.50, 1.00, 1.50 และ 2.00 m/s ความเร็วลมเฉลี่ยภายในอาคารมีปริมาณใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ความเร็วลมภายนอก 0.50 m/s พบว่าช่องเปิดที่ระดับพื้นที่ใช้งานแบบต่อเนื่องจะมีค่าความเร็วลมเฉลี่ยภายในอาคารมากที่สุด ตามมาด้วยช่องเปิดแบบเป็นช่วง และช่องเปิดแบบปัจจุบัน โดยมีค่าความเร็วเฉลี่ย 0.83 m/s , 0.81 m/s และ 0.62 m/s ตามลำดับ และพบว่า จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของช่องเปิดไม่ส่งผลต่ออัตราการเปลี่ยนถ่ายอากาศแต่ทำให้ลดพื้นที่มุมอับภายในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลได้ดีกว่าช่องเปิดแบบปัจจุบัน จากการศึกษาช่องเปิดที่ระดับเหนือพื้นที่ใช้งาน พบว่า การเพิ่มช่องเปิดที่ระดับเหนือพื้นที่ใช้งานจะ ช่วยเพิ่มอัตราการเปลี่ยนถ่ายอากาศ และพบว่าตำแหน่งระดับความสูงของช่องเปิดที่ 0.00 เมตร จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับหอผู้ป่วยโรงพยาบาลแบบที่มีทางเดินภายนอก และที่ระดับความสูง 0.40 เมตร จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับหอผู้ป่วยโรงพยาบาลแบบไม่มีทางเดินภายนอก จากผลการวิจัยนี้ นำไปสู่แนวทางการออกแบบช่องเปิดของโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคในหอผู้ป่วยโรงพยาบาล โดยจัดทำเป็นรูปแบบที่สถาปนิกและผู้ออกแบบโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
อุษณ จันทรทรัพย์ . (2553). การประเมินผลการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษณ จันทรทรัพย์ . 2553. "การประเมินผลการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษณ จันทรทรัพย์ . "การประเมินผลการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. อุษณ จันทรทรัพย์ . การประเมินผลการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|