ชื่อเรื่อง | : | เปรียบเทียบการหลั่งแกรนูลของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลระหว่างกลุ่มที่ได้ซิเตรดและเฮปารินในการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง |
นักวิจัย | : | อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล |
คำค้น | : | เลือด -- การแข็งตัว , ไตวายเฉียบพลัน , ไต -- โรค , เม็ดเลือดขาว , เฮปาริน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ขจร ตีรณธนากุล , สมชาย เอี่ยมอ่อง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19269 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 ที่มา ภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตมีอัตราการเสียชีวิตสูง แม้ว่ามีการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีด้วย continuous venovenous hemofiltration (CVVH) แล้วก็ตาม สาเหตุหนึ่งจาก CVVH เองมีความเสี่ยงต่อภาวะการไม่เข้ากันของเลือดกับตัวกรอง ทำให้มีการกระตุ้นและหลั่ง Myeloperoxidase (MPO) จากแกรนูลของนิวโตรฟิล (polymorphonuclear cell, PMN) ซึ่งส่งผลกระตุ้นภาวะการอักเสบของร่างกายตามมา มีรายงานการใช้ซิเตรดเป็นสารต้านลิ่มเลือดโดยลดแคลเซียมอิสระเฉพาะในตัวกรอง และให้แคลเซียมชดเชยกลับเข้าสู่ร่างกาย สามารถลดการหลั่งแกรนูลของนิวโตรฟิลในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด การศึกษานี้เปรียบเทียบการหลั่งแกรนูลของนิวโตรฟิลที่เกิดขึ้นในตัวกรองเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ซิเตรดและเฮปารินโดยใช้ระดับ MPO เป็นตัวชี้วัด วิธีการศึกษา ผู้ป่วยวิกฤตทุกรายที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ CVVH จำนวน 20 ราย จะถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้ซิเตรด (10 ราย) และกลุ่มที่ 2 ได้เฮปาริน (10 ราย) ใช้ตัวกรองสังเคราะห์ชนิด polyethersulfone ทั้ง 2 กลุ่ม ทำการตรวจระดับ MPO ก่อนและหลังตัวกรองที่ 3 จุดเวลาคือ เริ่มต้น, 6 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้ง 20 รายมีลักษณะพื้นฐานและความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระดับ MPO ก่อนและหลังตัวกรองที่ 3 จุดเวลา พบว่าในกลุ่มเฮปารินที่ 6 ชั่วโมง ระดับ MPO หลังตัวกรอง (76.7 ± 69.8 นาโนกรัม/มล.) สูงกว่าระดับ MPO ก่อนตัวกรอง (66.0 ± 63.5 นาโนกรัม/มล.) อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.02) เมื่อเปรียบเทียบระดับ MPO ก่อนตัวกรองในกลุ่มเดียวกันที่ 3 จุดเวลา พบว่าในกลุ่มซิเตรดมีระดับ MPO ก่อนตัวกรองที่เวลา 6 และ 24 ชั่วโมงต่ำกว่าเวลาเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) สรุปผลการศึกษา การหลั่งแกรนูลของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลในตัวกรองขณะทำ CVVH สามารถลดลงได้เมื่อใช้ซิเตรดเป็นสารต้านลิ่มเลือดและซิเตรดยังมีผลต่อการลดระดับ MPO ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระในร่างกายได้ |
บรรณานุกรม | : |
อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล . (2553). เปรียบเทียบการหลั่งแกรนูลของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลระหว่างกลุ่มที่ได้ซิเตรดและเฮปารินในการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล . 2553. "เปรียบเทียบการหลั่งแกรนูลของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลระหว่างกลุ่มที่ได้ซิเตรดและเฮปารินในการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล . "เปรียบเทียบการหลั่งแกรนูลของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลระหว่างกลุ่มที่ได้ซิเตรดและเฮปารินในการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล . เปรียบเทียบการหลั่งแกรนูลของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลระหว่างกลุ่มที่ได้ซิเตรดและเฮปารินในการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|