ชื่อเรื่อง | : | ปัญหากฎหมายที่เกิดจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต |
นักวิจัย | : | หทัยรัตน์ โชคชูวัฒนาเลิศ |
คำค้น | : | เสิร์ชเอ็นจิน , การค้นหาทางอินเตอร์เน็ต , การตลาดอินเตอร์เน็ต , พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 , พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 , เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19488 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 ศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อหาแนวทางกฎหมายที่เหมาะสม ในการให้ความคุ้มครองปัญหาจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ใน 2 กรณี ได้แก่ 1) ปัญหาการนำคีย์เวิร์ดที่เป็นเครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้า และชื่อโดเมนของผู้อื่นมาใส่ใน Meta tag ของเว็บไซต์และ 2) ปัญหาการขายคีย์เวิร์ดที่เป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นให้กับผู้ลงโฆษณาบนเว็บโปรแกรมค้นหา ในการศึกษาวิจัยจะศึกษาค้นคว้าจากบทบัญญัติทางกฎหมาย หนังสือ เอกสารและบทความทางวิชาการ ตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องชื่อทางการค้า สามารถให้ความคุ้มครองสิทธิผู้ที่เป็นเจ้าของคีย์เวิร์ด จากการที่มีบุคคลอื่นนำไปใช้ในการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบได้ โดยการปรับใช้หลักฐานเรื่องละเมิด มาตรา 420 และมาตรา 421 และหลักสุจริต มาตรา 5 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาพิจารณาประกอบ และสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เรื่องการควบคุมโฆษณา หากเป็นการใช้คีย์เวิร์ดในการโฆษณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกด้วย แต่กฎหมายข้างต้นยังคงมีข้อกำจัดบางประการ ทำให้คุ้มครองได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งวิธีการนำคีย์เวิร์ดไปใช้กับโปรแกรมค้นหาทั้งสองกรณี ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นการกระทำความผิดโดยตรง การวินิจฉัยปัญหาจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลในการตีความและปรับใช้กฎหมาย ทำให้เจ้าของคีย์เวิร์ดอาจไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดแนวทางการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายที่ชัดเจนว่า คีย์เวิร์ดที่ใช้เป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และการนำไปใช้การทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหาก็สามารถกระทำได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้อย่างเหมาะสมและโดยชอบด้วยกฎหมาย |
บรรณานุกรม | : |
หทัยรัตน์ โชคชูวัฒนาเลิศ . (2550). ปัญหากฎหมายที่เกิดจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หทัยรัตน์ โชคชูวัฒนาเลิศ . 2550. "ปัญหากฎหมายที่เกิดจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หทัยรัตน์ โชคชูวัฒนาเลิศ . "ปัญหากฎหมายที่เกิดจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. หทัยรัตน์ โชคชูวัฒนาเลิศ . ปัญหากฎหมายที่เกิดจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|