ชื่อเรื่อง | : | การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย |
นักวิจัย | : | สุชาติ ศรีสุวรรณ |
คำค้น | : | การนิเทศการศึกษา , โรงเรียนประถมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นิพนธ์ ไทยพานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2528 |
อ้างอิง | : | 9745647063 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19013 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย จำนวน 450 โรงเรียน ใช้โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 37 โรงเรียน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและศึกษาเอกสารของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบเติมคำในช่องว่าง และแบบปลายเปิด แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และแบบศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับแบบสอบถามใช้วิธีขอความร่วมมือต้นสังกัดโดยส่งไปทั้งหมด 450 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 405 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.0 ส่วนการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและการศึกษาเอกสารของโรงเรียนนั้น ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 37 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. งานนิเทศการศึกษาที่โรงเรียนจัดขึ้น 1.1 งานด้านวิชาการหรืองานการเรียนการสอนโดยตรง งานที่มีจำนวนโรงเรียนจัดขึ้นมากที่สุด คือการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูเรื่องการวางแผนการสอน 1.2 งานพัฒนาครูภายในโรงเรียน งานที่มีจำนวนโรงเรียนจัดขึ้นมากที่สุด คือการจัดให้มีการสร้างเสริมประสิทธิภาพของครู 1.3 งานด้านการสนับสนุนและบริการ งานที่มีจำนวนโรงเรียนจัดขึ้นมากที่สุด คือ การจัดบริเวณโรงเรียนและห้องเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตร 2. กระบวนการในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีให้ผู้บริหารร่วมกับคณะครูในโรงเรียนกำหนดและจัดทำแผนงานและโครงการขึ้น มีการชี้แจงแผนงานโครงการด้วยการแจกโครงการให้ครูทุกคนอ่าน มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบแผนงานและโครงการเป็นคณะบุคคล และใช้วิธีปฏิบัติงานร่วมกัน ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีความสามารถเฉพาะเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานแก่คณะครูด้วยการประชุมชี้แจง การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีชมเชยในที่ประชุมและพิจารณาความชอบให้เป็นกรณีพิเศษภายหลังจากการปฏิบัติงานและใช้การประเมินผลแผนงานและโครงการด้วยการสังเกตและสอบถามจากการปฏิบัติงานของครูในขณะปฏิบัติงานและในที่ประชุม 3. ปัจจัยที่โรงเรียนต้องการนำมาใช้สนับสนุนการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน ได้แก่ ครูที่มีความรู้ความสามารถในการสอนสาขาวิชาต่าง ๆ และต้องการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน เงินงบประมาณและวัสดุหรือสื่อการสอนสำเร็จรูป 4. อุปสรรคและปัญหาในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนได้แก่ โรงเรียนขาดแคลนวิทยากรและแหล่งวิทยาการสำหรับให้ครูศึกษาเพิ่มเติม ครูขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน ครูขาดความมั่นใจในตนเองและขาดการยอมรับจากคณะครูในโรงเรียน โรงเรียนได้รับงบประมาณน้อยและได้รับช้าไม่ทันต่อการจัดดำเนินงานของโรงเรียน และขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณซับซ้อนเกินไป โรงเรียนได้รับวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำและไม่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน |
บรรณานุกรม | : |
สุชาติ ศรีสุวรรณ . (2528). การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชาติ ศรีสุวรรณ . 2528. "การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชาติ ศรีสุวรรณ . "การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528. Print. สุชาติ ศรีสุวรรณ . การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2528.
|