ชื่อเรื่อง | : | ความคิดเห็นของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษา ในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสิงห์บุรี |
นักวิจัย | : | สุกัญญา จงเอกวุฒิ |
คำค้น | : | สุขศึกษา -- ไทย , โครงการสุขภาพในโรงเรียน , สาธารณสุขมูลฐาน , โรงเรียน -- ไทย -- สิงห์บุรี |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาติ โสมประยูร , พัชรา กาญจนารัณย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2529 |
อ้างอิง | : | 9745672076 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18989 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน รวมทั้งศึกษาเหตุผลที่ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีต่อกิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 10 เรื่อง ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามจากตัวอย่างประชาครู จำนวน 242 คน และจากประชากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 114 คน ต่อมาผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากตัวอย่างประชาครู จำนวน 48 คน และประชากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 41 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 24 โรง และหน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่งใน 6 อำเภอ ของจังหวัดสิงห์บุรี ผู้วิจัยนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลและหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) และได้นำแบบสัมภาษณ์มาคิดเป็นค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน ส่วนใหญ่ทั้ง 10 เรื่อง สนับสนุนงานสาธารณสุขในระดับมาก 2. ความคิดเห็นและเหตุผลของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน พบว่า 2.1 ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เห็นว่า กิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 2 เรื่อง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคในท้องถิ่น และเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยมีเหตุผลที่สำคัญมากร่วมกันว่า การร่วมมือและประสานงานระหว่างครูกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการให้นักเรียนมีส่วนร่วมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในท้องถิ่น จะช่วยลดปัญหาโรคติดต่อที่สำคัญของชุมชนได้ 2.2 ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเห็นว่ากิจกรรมสุขศึกษาในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานที่มีบางข้อแตกต่างกันใน 8 เรื่อง ได้แก่ เรื่องการสอนสุขศึกษา การโภชนาการ การรักษาพยาบาล การจัดหายาที่จำเป็น การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด การอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว งานทันตสาธารณสุขและการส่งเสริมสุขภาพจิต ซึ่งเรื่องการสอนสุขศึกษามีจำนวนข้อที่แตกต่างกันมากที่สุด โดยครูส่วนใหญ่เห็นว่าการสอนบทเรียนเรื่องการสาธารณสุขมูลฐานจะช่วยให้นักเรียนมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่เห็นว่า การสอนสุขศึกษาควรปรับเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในชีวิตประจำวัน |
บรรณานุกรม | : |
สุกัญญา จงเอกวุฒิ . (2529). ความคิดเห็นของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษา ในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสิงห์บุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุกัญญา จงเอกวุฒิ . 2529. "ความคิดเห็นของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษา ในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสิงห์บุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุกัญญา จงเอกวุฒิ . "ความคิดเห็นของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษา ในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสิงห์บุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529. Print. สุกัญญา จงเอกวุฒิ . ความคิดเห็นของครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับกิจกรรมสุขศึกษา ในโรงเรียนในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสิงห์บุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2529.
|