ชื่อเรื่อง | : | เกณฑ์ปกติการใช้ประโยชน์ห้องเรียน และ สำนักงานของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี |
นักวิจัย | : | วันทยา วงศ์ศิลปภิรมย์ |
คำค้น | : | อาคารเรียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สำนวน ดือรามัด , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2521 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18628 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ (1) หาเกณฑ์ปกติของการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของโรงเรียนประถมศึกษา 12 โรงเรียน ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบเกณฑ์ปกติของการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ กับค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม (3) แบ่งระดับค่าการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของโรงเรียนออกเป็น 3 ระดับคือ สูงกว่า ปกติ และต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยใช้ช่วงความเชื่อมั่น 95% และ (4) คาดคะเนความต้องการห้องเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอธัญบุรี ในปีการศึกษา 2525 ดัชนีของค่าการใช้ประโยชน์มี 3 ค่า คือ (1) อัตราการใช้ห้อง (2) อัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียน และ (3) ค่าการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ด้านบริหารและบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจอาคารสถานที่โรงเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสำรวจอาคารสถานที่โรงเรียนประถมศึกษา ของ ศิริเพ็ญ อิ่มสุข ผลการวิจัยปรากฏข้อค้นพบดังนี้ 1. เกณฑ์ปกติของอัตราการใช้ห้องเรียนปกติ มีค่าเท่ากับ 91.43% ของห้องเรียนพิเศษ เท่ากับ 51.34% ส่วนอัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียนของห้องเรียนปกติ เท่ากับ 87.04% ของห้องเรียนพิเศษ เท่ากับ 30.54% และค่าการใช้ประโยชน์สถานที่ด้านบริหารและบริการเท่ากับ 203.86% 2. อัตราการใช้ห้องของห้องเรียนปกติไม่แตกต่างจากกว่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 อัตราการใช้ห้องห้องเรียนพิเศษ อัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียนทั้งห้องเรียนปกติและห้องเรียนพิเศษ ต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนค่าการใช้ประโยชน์สถานที่ด้านบริหารบริการสูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 แสดงว่าโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอธัญบุรี ได้จัดจำนวนชั่วโมงการใช้ห้องเรียนปกติได้อย่างเหมาะสมดีแล้ว แต่ในด้านความจุ ยังมีพื้นที่เหลือเกินจำนวนนักเรียนมากไป การใช้ประโยชน์ห้องเรียนพิเศษ ยังใช้น้อยเกินไปทั้งในด้านเวลา และความจุ ส่วนสถานที่บริหารบริการต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 8751.09 ตาราเมตร ห้องส้วมครู 11 ที่ ห้องส้วมนักเรียน 82 ที่ และที่ปัสสาวะชาย 3 ที่ ถ้าคิดเฉพาะโรงเรียนในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 10 โรงเรียนปรากฏว่า ต้องการพื้นที่ทางด้านบริหารและบริการเพิ่มขึ้น 8289.54 ตารางเมตร ห้องส้วมครู 9 ที่ ห้องส้วมนักเรียน 89 ที่ และที่ปัสสาวะชาย 3 ที่ 3. ในปี พ.ศ. 2525 โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอธัญบุรี ยังมีพื้นที่ทางการเรียนการสอนเหลือว่างพอที่จะรับจำนวนนักเรียน 1454 คน ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่ต้องการสถานที่ด้านบริหารบริการเพิ่มขึ้น 2194.52 ตารางเมตร ห้องส้วมนักเรียน 36 ที่ และห้องส้วมครู 5 ที่ |
บรรณานุกรม | : |
วันทยา วงศ์ศิลปภิรมย์ . (2521). เกณฑ์ปกติการใช้ประโยชน์ห้องเรียน และ สำนักงานของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันทยา วงศ์ศิลปภิรมย์ . 2521. "เกณฑ์ปกติการใช้ประโยชน์ห้องเรียน และ สำนักงานของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันทยา วงศ์ศิลปภิรมย์ . "เกณฑ์ปกติการใช้ประโยชน์ห้องเรียน และ สำนักงานของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521. Print. วันทยา วงศ์ศิลปภิรมย์ . เกณฑ์ปกติการใช้ประโยชน์ห้องเรียน และ สำนักงานของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2521.
|