ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีไทยผู้ให้บริการด้านการศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพ ตามการรับรู้ของตนเองกับความคาดหวังของผู้รับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล |
นักวิจัย | : | ทิฆัมพร มัจฉาชีพ |
คำค้น | : | สตรี -- ไทย , พยาบาล , แพทย์ , ทัศนคติ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดวงเดือน พิศาลบุตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2528 |
อ้างอิง | : | 9745649333 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18489 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของสตรีไทยในการให้บริการด้านการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีไทยในการให้บริการทางด้านนี้ตามการรับรู้ของตนเองกับความคาดหวังของผู้รับบริการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณา คือการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 732 คน ซึ่งประกอบด้วยสตรีผู้ให้บริการด้านการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ จำนวน 193 คน และผู้รับบริการ 539 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากโรงพยาบาลของรัฐบาล 4 สังกัดๆละ 1 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี วชิรพยาบาล และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสำรวจเป็นแบบสอบถามเลือกตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่า ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น 2 ชุด สำหรับสตรีผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มีชุดละ 40 ข้อ ซึ่งมีเนื้อหาของแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในการให้บริการด้านการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพเหมือนกัน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีผู้ให้บริการทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพตามการรับรู้ของตนเองอยู่ในระดับมาก 33 เรื่อง มีเพียง 7 เรื่อง เท่านั้นที่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้รับบริการนั้นมีความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทของสตรีผู้ให้บริการทางด้านนี้อยู่ในระดับมากทั้ง 40 เรื่อง และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสตรี และความคาดหวังของผู้รับบริการทางด้านนี้เป็นรายข้อ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 14 เรื่อง นอกนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 26 เรื่อง และเรื่องที่มีความแตกต่างกันมากคือ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนล่วงหน้าก่อนที่จะมีการระบาดของโรคต่างๆ ตามฤดูกาล และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเอกสารหรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของผู้รับบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสตรีผู้ให้บริการมาก |
บรรณานุกรม | : |
ทิฆัมพร มัจฉาชีพ . (2528). การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีไทยผู้ให้บริการด้านการศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพ ตามการรับรู้ของตนเองกับความคาดหวังของผู้รับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิฆัมพร มัจฉาชีพ . 2528. "การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีไทยผู้ให้บริการด้านการศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพ ตามการรับรู้ของตนเองกับความคาดหวังของผู้รับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิฆัมพร มัจฉาชีพ . "การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีไทยผู้ให้บริการด้านการศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพ ตามการรับรู้ของตนเองกับความคาดหวังของผู้รับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528. Print. ทิฆัมพร มัจฉาชีพ . การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสตรีไทยผู้ให้บริการด้านการศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพ ตามการรับรู้ของตนเองกับความคาดหวังของผู้รับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2528.
|