ชื่อเรื่อง | : | การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา |
นักวิจัย | : | วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล |
คำค้น | : | พยาบาล , การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน , บัณฑิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2527 |
อ้างอิง | : | 9745636347 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18494 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา ในเรื่องความรู้ความสามารถทางวิชาการ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมนุษยสัมพันธ์และค่านิยมทางวิชาชีพกลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัย คือ พยาบาลศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2524 และ 2525 จำนวน 148 คนและผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตจำนวน 180 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และแบบวัดค่านิยมทางวิชาชีพของ นิภา คิดประเสริฐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บังคับบัญชาประเมินว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยส่วนรวมอยู่ในระดับดี และบัณฑิตประเมินตนเองว่ามีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยส่วนรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่ามัชฌิมเลขคณิตความรู้ความสามารถทางวิชาการในทัศนะของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยบัณฑิตประเมินตนเองต่ำกว่าการประเมินของผู้บังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญ 2. ผู้บังคับบัญชาประเมินว่าบัณฑิตมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมอยู่ในระดับดี และบัณฑิตประเมินตนเองว่ามีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่ามัชฌิมเลขคณิตประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในทัศนะของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยบัณฑิตประเมินตนเองต่ำกว่าการประเมินของผู้บังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญ 3. ผู้บังคับบัญชาและบัณฑิตประเมินว่าบัณฑิตมีมนุษยสัมพันธ์โดยส่วนรวมอยู่ในระดับดีค่ามัชฌิมเลขคณิตมนุษยสัมพันธ์ในทัศนะของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. บัณฑิตมีค่านิยมวิชาชีพโดยส่วนรวมในระดับสูง 5. บัณฑิตมีความเห็นว่า เนื้อหาวิชาและจำนวนหน่วยกิจของวิชาในหมวดวิชาชีพมีความเหมาะสม ยกเว้น วิชาพัฒนาการพยาบาลและหลักการกาชาด 6. บัณฑิตมีความเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตรในเรื่องต่างๆ มีความเหมาะสมดีแล้ว ยกเว้นในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติ 7. บัณฑิตมีความเห็นว่าได้รับความรู้และนำความรู้จากวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาชีพส่วนใหญ่ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้มาก 8. ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ต้องการบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการพยาบาลและให้บริการแก่ ผู้ป่วยเป็นอย่างดีมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และการทำงาน เป็นผู้มีใจรักมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาลและมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ |
บรรณานุกรม | : |
วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล . (2527). การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล . 2527. "การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล . "การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527. Print. วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล . การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2527.
|