ชื่อเรื่อง | : | โครงการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น |
นักวิจัย | : | ทิพา จันทรคามิ |
คำค้น | : | โครงการสุขภาพในโรงเรียน , โรงเรียนประถมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มุกดา เศรษฐบุตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2525 |
อ้างอิง | : | 9745610461 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18122 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดโครงกา รสุขภาพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปใช้กับตัวอย่างประชากร คือครูส่วนใหญ่ หรือผู้รับผิดชอบโครงการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 414 คน ได้รับแบบสอบถามคิน ร้อยละ 92.75 แล้วนำข้อมูลมาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การการวิจัยครั้งนี้พบว่า ก.การจัดโครงการสุขภาพในโรงเรียน การจัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ สถานที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ ส่วนใหญ่อยู่ในที่ดอนและอยู่ในชุมชน ห้องเรียน โต๊ะเรียน ม้านั่ง ส้วม ที่ปัสสาวะ ส่วนใหญ่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนและโรงเรียนขนาดเล็ก ร้อยละ 77.93 ไม่มีที่ปัสสาวะ การระบายอากาศ แสงสว่างในห้องเรียน การระบายน้ำโสโครกเหมาะสม แต่การกำจัดขยะส่วนใหญ่ยังไม่ถูกสุขลักษณะ บริการสุขภาพ การตรวจสุขภาพโดยครูส่วนใหญ่ ทำทุกวัน และได้รับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลดังนี้ โรงเรียนขนาดใหญ่ ร้อยละ 50 ตรวจเทอมละครั้ง โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กส่วนใหญ่ได้รับการตรวจปีละครั้ง การทดสอบการได้ยินและทดสอบสายตาส่วนใหญ่โรงเรียนทั้ง 3 ขนาดไม่เคยทำเลย ครูส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพ การสอนสุขศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลางส่วนใหญ่ไม่มีครูพิเศาสอนสุขศึก ษา ป. ปลาย ป.ต้นครูประจำชั้นสอน โรงเรียนขนาดเล็กครูประจำชั้นสอนเองทุกชั้น เอกสารเกี่ยวกับสุขศึกษาให้นักเรียนและครูค้นคว้าไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการนิเทศการสอนจากศึกษานิเทศก์เลย การดำเนินงานโครงการสุขภาพในโรงเรียน มีการวางแนเขียนโครงการเป็นคราวๆไป ครูทุกคนรับผิดชอบร่วมกันและให้ความร่วมมือดี ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น โรงเรียนขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองดี โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ มีการประเมินผลงานเป็นบางครั้ง ข. ปัญหาการจัดโครงการสุขภาพในโรงเรียน การจัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ โรงเรียนทั้ง 3 ขนาด มีปัญหาปานกลางในเรื่องบริเวณโรงเรียนกับจำนวนนักเรียน การจัดบริเวณโรงเรียนให้ร่มรื่น การจัดโต๊ะม้านั่งให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน การจัดน้ำดื่มน้ำใช้ การจัดให้มีห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น สถานที่รับประทานอาหารสำหรับครูและนักเรียน บริการสุขภาพ โรงเรียนทั้ง 3 ขนาด มีปัญหาปานกลางในเรื่องการจัดการให้มีการทดสอบสายตา การทดสอบการได้ยิน การให้ความช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางสุขภาพหรือเด็กเรียนช้า การจัดบริการอาหารกลางวัน การจัดให้ครูได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหามากในเรื่องการจัดให้นักเรียนได้รับการต รวจสุขภาพโดยแพทย์ ทันตแพทย์ การสอนสุขศึกษา โรงเรียนทั้ง 3 ขนาดมีปัญหาปานกลางใในเรื่องการจัดทำแผนการสอนของครู การจัดทำเอกสารประกอบการค้นคว้าเกี่ยวกับสุขศึกษาให้แก่ครู และนักเรียน การจัดกิจกรรมพิเศษอื่นๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพอนามัย การจัดให้มีความรู้เกี่ยวกับเด็กที่ผู้ปกครองควรทราบแก่ผู้ปกครอง การจัดและดำเนินงานโครงการสุขภาพในโรงเรียน โรงเรียนทั้ง 3 ขนาดมีปัญหามากในเรื่องงบประมาณในการดำนินงาน มีปัญหาปานกลางในเรื่องความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กมีปัญหามากในเรื่องอุปกรณ์และสิ่ง อำนวยความสะดวกต่างๆ มีปัญหาปานกลางในเรื่องความสนใจและความร่วมมือจากครูและผู้ป กครองในการดำเนินงาน |
บรรณานุกรม | : |
ทิพา จันทรคามิ . (2525). โครงการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิพา จันทรคามิ . 2525. "โครงการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิพา จันทรคามิ . "โครงการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525. Print. ทิพา จันทรคามิ . โครงการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2525.
|