ชื่อเรื่อง | : | ความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทเกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชน |
นักวิจัย | : | จารุวรรณ วัณณกุล |
คำค้น | : | ครูมัธยมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดวงเดือน พิศาลบุตร, คุณ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2526 |
อ้างอิง | : | 9745627445 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18192 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทเกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจและอาชีพ สังคมและวัฒนธรรม การศึกษาและนันทนาการ สุขภาพอนามัย และการเมืองการปกครอง ตัวอย่างประชากรเป็นครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยม เพื่อพัฒนาชนบท 350 คน ซึ่งได้จากกลุ่มแบบแบ่งชั้นจากโรงเรียนมัธยมระดับตำบล ในเขตการศึกษา 9 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. ครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลส่วนใหญ่มีความเห็นด้วย ในระดับมาก เกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจและอาชีพ สังคมและวัฒนธรรม การศึกษาและนันทนาการ สุขภาพอนามัย และการเมืองการปกครอง และส่วนใหญ่โรงเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านี้น้อย ยกเว้น กิจกรรมในการพัฒนาชุมชนด้านสังคมและวัฒนธรรม 2. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ที่ครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลประสบในระดับมาก คือ เรื่อง 1. ความยากจนของประชาชน 2. ครูไม่มีเวลาเพียงพอ และขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนในระดับปานกลาง คือ เรื่อง 1. ปัญหาความสนใจของประชนที่มีต่อการให้บริการการศึกษาของโรงเรียนน้อย 2. ความแตกต่างในด้านการอ่านออกเขียนได้ของประชาชน 3. ความอ่อนแอป่วยไข้จนไม่สามารถประกอบการงานได้ 4. ความรู้ความสามารถของครูผู้สอนในวิชาชีพ 5. การขาดความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน 6. ความสัมพันธ์ระหว่างครูและประชาชนในหมู่บ้านมีไม่เพียงพอ 7. การขาดการประสานงานของหน่วยราชการในท้องถิ่นที่มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน 3. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานการพัฒนาชุมชนของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลพบว่า1. ต้องการให้มีการส่งเสริมการศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ทั่วไปและอาชีพแก่ประชาชนทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน 2. ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชนชนบทมีการประสานงานและร่วมมือกันให้มากขึ้น 3. ต้องการให้ครูสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนให้มากขึ้น 4. ควรให้โรงเรียนมัธยมระดับตำบลเข้าเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท (หรือ มพช.) |
บรรณานุกรม | : |
จารุวรรณ วัณณกุล . (2526). ความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทเกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จารุวรรณ วัณณกุล . 2526. "ความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทเกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จารุวรรณ วัณณกุล . "ความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทเกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526. Print. จารุวรรณ วัณณกุล . ความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมระดับตำบลที่อยู่นอกโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทเกี่ยวกับหน้าที่ของครูและโรงเรียนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2526.
|