ชื่อเรื่อง | : | วรรณะศูทรในสมัยพระเวท |
นักวิจัย | : | จริยา เจรีรัตน์ |
คำค้น | : | ศูทร , ชนชั้นในสังคม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปราณี ฬาพานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2522 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17949 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณะศูทร ในสมัยพระเวท คือ นับตั้งแต่สมัยแรกที่ชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ 3500 ปีมาแล้ว จนกระทั่งชาวอารยันเหล่านี้ได้อพยพไปทางทิศตะวันออกและตังหลักแหล่งอยู่ในบริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศ ในสมัยดังกล่าวนี้ปรากฏว่า วรรณะศูทรเป็นวรรณะที่สี่ของสังคมอินเดีย และมีเรื่องราวกล่าวถึงในคัมภีร์ต่างๆ ในสมัยนั้น นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้รวบรวมข้อมูลและแนวความคิดต่างๆเกี่ยวกับระบบวรรณะ และโดยเฉพาะวรรณะศูทรเท่าที่จะค้นได้จากคัมภีร์พระไตรปิฎก และได้ค้นคว้าศึกษาบทความและแนวความคิดเห็นต่างๆ ของนักปราชญ์สมัยปัจจุบัน ทั้งชาวอินเยและชาวต่างประเทศอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับแนวความคิดที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตโดยตรง เพื่อทำให้ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับวรรณะศูทรสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น 5 บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงหัวข้อวิทยานิพนธ์ความเป็นมาของปัญหา และวิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงระบบวรรณะของสังคมอินเดียโดยสังเขป ปละประวัติความเป็นมาของวรรณะศูทร บทที่ 3 วิเคราะห์ฐานะทางสังคมของวรรณะศูทร จากคัมภีร์สังหิตา หราหมณะ อุปนิษัท และคัมภีร์สูตรต่างๆ รวมทั้งเสนอความคิดเกี่ยวกับระบบวรรณะ และวรรณะศูทร จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎก บทที่ 4 กล่าวถึงชีวิตวามเป็นอยู่ หน้าที่อาชีพ การแต่งงาน ตลอดจนอุดมคติในการดำเนินชีวิตของศูทร บทสุดท้ายเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ โดยที่วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นผลการศึกษาและวิจัยเรื่องของวรรณะศูทรจาก วรรณคดีสันสกฤตที่เป็นผลงานของบุคคลในวรรณะพราหมณ์ และเป็นงานที่ถือเอาศาสนาเป็นแกนกลาง ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการศึกษาเรื่องราวของวรรณะศูทรจากวรรณคดีสันสกฤตอื่นๆ ที่ผู้ประพันธ์อาศัยหลักการอื่นที่มิใช่ศาสนาเป็นหลักสำคัญ เช่น อรรถศาสตร์ที่เกาฏิลยะเป็นผู้แต่ง หรือจากวรรณคดีบาลี เช่น อรรถกถาธรรมบทและชาดก เป็นต้น งานวิจัยเรื่องนี้แสดงว่า ศูทรส่วนใหญ่ของอินเดียสมัยโบราณเป็นชาวพื้นเมืองอินเดียที่ต้องตกเป็นเชลยของชาวอารยัน ชนพวกนี้ในครั้งนั้นมีอารยธรรมสูงกว่าชาวอารยัน และมีรูปร่างลักษณะต่างกับชาวอารยันโดยเฉพาะที่มีกล่าวในวรรณคดีสันสกฤต คือมีผิวดำ และจมูกแบน ชนพวกนี้ต้องเข้ามาอยู่ร่วมในสังคมอารยันในฐานะทาส แต่ก็ถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมพิธีทางศาสนา การแต่งงานระหว่างบุคคลในวรรณะศูทรกับชาวอารยันก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ ศูทรยังถูกจำกัดสิทธิและถูกบีบคั้นนานาประการ อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อความบางตอนที่แสดงถึงความเห็นใจศูทรอยู่บ้าง เช่น ศูทรที่อยู่กับนายมานานแล้ว เมื่อแก่ตัวลงผู้เป็นนายก็จะต้องให้ความอุปการะเลี้ยงดู ส่วนฐานของศูทรในสังคมพุทธศาสนาโดยทั่วไปแล้ว ดีกว่าที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตมาก |
บรรณานุกรม | : |
จริยา เจรีรัตน์ . (2522). วรรณะศูทรในสมัยพระเวท.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จริยา เจรีรัตน์ . 2522. "วรรณะศูทรในสมัยพระเวท".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จริยา เจรีรัตน์ . "วรรณะศูทรในสมัยพระเวท."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522. Print. จริยา เจรีรัตน์ . วรรณะศูทรในสมัยพระเวท. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2522.
|