ชื่อเรื่อง | : | ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย |
นักวิจัย | : | นันทพร โอสถานนท์ |
คำค้น | : | การเมืองกับการศึกษา , การสอน , ไทย -- การเมืองและการปกครอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ลาวัณย์ วิทยาวุฑณิกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2529 |
อ้างอิง | : | 9745663948 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17836 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ในด้านต่าง ๆ คือ หลักสูตรและเนื้อหา กิจกรรม การเรียนการสอน กระบวนการวัดและประเมิน และการนำความรู้ไปใช้ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ของนักเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ คือ นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียนนายร้อยตำรวจ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย 1 ชุด ประกอบด้วยคำถามแบบตรวจคำตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด แล้วนำไปตามนักเรียนเตรียมทหารจำนวน 480 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSSX (Statistical Package for The Social Sciences X) ของสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และทดสอบอัตราส่วนเอฟ (F-test) ตามวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’s Method) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง สรุปผลการวิจัย 1. การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ทั้ง 4 ด้าน ปรากฏผลดังนี้คือ 1.1 หลักสูตรและเนื้อหา โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านหลักสูตรและเนื้อหา และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้ว ปรากฏว่านักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยเกือบทุกข้อ คือเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องและส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยและพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย เนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ให้ในหลักสูตรมีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาและวัยของผู้เรียน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพสังคมปัจจุบัน เหมาะสมที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ เป็นประโยชน์อาจนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ น่าสนใจ ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจความเป็นมาทางการเมืองการปกครองของไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน และมีทัศนะที่เป็นกลางไม่ลำเอียง 1.2 กิจกรรมการเรียนการสอน โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วปรากฏว่า นักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยเกือบทุกข้อ คือเห็นด้วยว่า นักเรียนได้ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนและโครงการเรียนการสอนวิชานี้ตั้งแต่เริ่มต้นเรียน ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนทุกบทเรียน และได้รับรายชื่อแหล่งค้นคว้าประกอบจากผู้สอน การเรียนการสอนดำเนินไปตามแผนหรือโครงการที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนแบบจำลองสถานการณ์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา การอภิปรายกลุ่มใหญ่ การอภิปรายกลุ่มย่อย การสัมมนา การอภิปรายแบบโต้วาที การอภิปรายแบบระดมพลังสมอง วิธีการสอนแบบสืบสอบ และวิธีการสอนแบบบรรยายแบบต่างๆ 1.3 กระบวนการวัดและประเมินผล โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านกระบวนการวัดและประเมินผล และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อปรากฏว่า นักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยเกือบทุกข้อ คือเห็นด้วยว่าครูผู้สอนวัดผลโดยอาศัยวัตถุประสงค์ของการเรียนเป็นหลัก แจ้งให้นักเรียนทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการดำเนินการวัดและประเมินผลล่วงหน้าทุกครั้ง กระบวนการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนให้นักเรียนทำข้อสอบย่อย ถามคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียน และมอบให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มแล้วอภิปรายหน้าชั้น 1.4 การนำความรู้ไปใช้ โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านการนำความรู้ไปใช้ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วปรากฏว่า นักเรียนเตรียมทหารทุกเหล่าทัพเห็นด้วยทุกข้อ คือเห็นด้วยว่า เรียนวิชานี้แล้วทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นมาของระบบการเมืองการปกครอง และระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทราบข้อผิดพลาดของการดำเนินนโยบายทางการเมืองของไทยในอดีตได้ เกิดความคิดความเห็นในการเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา เป็นคนทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เกิดความรักชาติมากขึ้น เป็นคนที่รู้จักหลักการใช้เหตุผลในการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย นำความรู้วิชานี้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพหรือรับราชการในอนาคตได้ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และช่วยเป็นแนวทางในการมีส่วนปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองในอนาคตได้ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทยระหว่างนักเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ ปรากฏผลในแต่ละด้านดังนี้ 2.1 หลักสูตรและเนื้อหา โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านหลักสูตรและเนื้อหาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2 กิจกรรมการเรียนการสอน โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.3 กระบวนการวัดและประเมินผล โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านการวัดและประเมินผล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.4 การนำความรู้ไปใช้ โดยส่วนรวมนักเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย ด้านการนำความรู้ไปใช้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
บรรณานุกรม | : |
นันทพร โอสถานนท์ . (2529). ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทพร โอสถานนท์ . 2529. "ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทพร โอสถานนท์ . "ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529. Print. นันทพร โอสถานนท์ . ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติการปกครองและการเมืองของไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2529.
|