ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา สขาวิชาวิทยาศาสตร์ |
นักวิจัย | : | นพมาศ ปทุมบาล |
คำค้น | : | สถาบันอุดมศึกษา -- ข้อสอบ -- การวิเคราะห์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุนทร ช่วงสุวนิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2521 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18431 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์ดูว่าแบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มที่จะวัดพฤติกรรมด้านใด 1.1 ความรู้ (Knowledge) 1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) 1.3 กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ (Processes of Scientific Inquiry) 1.4 ความสามารถในการนำความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ (Application of Scientific Knowledge and Method) 1.5 ทัศนคติและความสนใจทางวิทยาศาสตร์ (Attitudes and Interests) 1.6 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) 2. เพื่อเปรียบเทียบว่าแบบสอบคัดเลือกวิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาฟิสิกส์ และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีการวัดพฤติกรรมด้านต่างๆในอัตราร้อยละเท่าใด การดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ คือ แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาฟิสิกส์ และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป) ปีพ.ศ.2518 – พ.ศ.2520 ทั้งตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจำนวน 1,413 ข้อ ผู้วิจัยได้ฝึกพิจารณาจำแนกข้อสอบลงในตารางวิเคราะห์ข้อสอบ โดยพิจารณาว่า คำถามของข้อสอบแต่ละข้อเป็นคำถามที่วัดพฤติกรรมด้านใด แล้วสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นพวกหรือชั้น (stratified random sampling) มาทำการวิเคราะห์แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ ซึ่งปรากฏว่า ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ถูกต้องตรงกับความเห็นส่วนมากของผู้ทรงคุณวุฒิถึงร้อยละ 47.08 แล้วจึงได้ทำการวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกดังกล่าวนั้นทุกข้อโดยได้รับการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่จากอาจารย์ที่ปรึกษาทุกข้อ ผลการวิเคราะห์ 1. แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี และวิชาฟิสิกส์ ทั้งตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่ เน้นหนักในการวัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจ โดยวิชาเคมีตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่วัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 71.19 และ 65.76 ตามลำดับ วิชาฟิสิกส์ตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่วัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 92.33 และ 84.33 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมด้านอื่นๆมีการวัดน้อยมาก 2. แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ทั้งตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่ กับวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นหนักในการวัดพฤติกรรมด้านความรู้และพฤติกรรมด้านความเข้าใจ โดยวิชาชีววิทยาตามแนวหลักสูตรเก่าวัดพฤติกรรมด้านความรู้ร้อยละ 58.66 พฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 32.66 แบบสอบคัดเลือกวิชาชีววิทยาตามแนวหลักสูตรใหม่วัดพฤติกรรมด้านความรู้ร้อยละ 38.66 พฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 40.66 แบบสอบคัดเลือกวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป วัดพฤติกรรมด้านความรู้ร้อยละ 59.33 และวัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 29 ส่วนพฤติกรรมด้านอื่นๆมีการวัดน้อยมาก 3. แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ไม่มีการวัดพฤติกรรมด้านทัศนคติและความสนใจทางวิทยาศาสตร์กับพฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เลย |
บรรณานุกรม | : |
นพมาศ ปทุมบาล . (2521). การวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา สขาวิชาวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพมาศ ปทุมบาล . 2521. "การวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา สขาวิชาวิทยาศาสตร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพมาศ ปทุมบาล . "การวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา สขาวิชาวิทยาศาสตร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521. Print. นพมาศ ปทุมบาล . การวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา สขาวิชาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2521.
|