ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบค่าอัตราการกรองของโกลเมอรูลัสที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สมการของแซปพิเทลบีและสมการของชวารทซ์ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง |
นักวิจัย | : | กมลวรรณ พ่อค้า |
คำค้น | : | เด็ก -- มะเร็ง -- การรักษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมฤทัย วัชราวิวัฒน์ , วันดี นิงสานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17525 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าประมาณการทำงานของไตที่ได้จากการคำนวณโดยใช้ Zappitelli equation และ Schwartz equation ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional study) ทำการศึกษาในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษา ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 63 ราย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึง พฤษภาคม 2552 ทำการวิเคราะห์ค่า serum creatinine ด้วยเทคนิค enzymatic กำหนดค่ามาตรฐานของ serum creatinine เท่ากับ 0.20-0.70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และวิเคราะห์ค่า serum cystatin c ด้วยเทคนิค particle-enhanced immuno-nephelometric กำหนดค่ามาตรฐานของ serum cystatin c เท่ากับ 0.53-0.95 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของค่า serum creatinine และค่า serum cystatin c เท่ากับร้อยละ 1.50 และ 2.54 ตามลำดับ ผลการศึกษา: เมื่อคำนวณการทำงานของไตของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 63 ราย โดยใช้ Zappitelli equation และ Schwartz equation พบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างค่าประมาณการทำงานของไตที่ได้จากการคำนวณโดยใช้ Zappitelli equation (eGFR [subscript Zappitelli]) และค่าประมาณการทำงานของไตที่ได้จากการคำนวณโดยใช้ Schwartz equation (eGFR [subscript Schwartz]) เท่ากับ 55±30 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร (p < 0.01) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.319 (p = 0.01) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในกลุ่มเท่ากับ 0.484 (p < 0.01) ผลการวิเคราะห์โดยใช้ Bland Altman Plot พบว่ามีผู้ป่วยที่มีค่าความแตกต่างของ eGFR [subscript Zappitelli] และ eGFR [subscript Schwartz] อยู่ในช่วง mean difference ± 2SD ถึงร้อยละ 97 สรุปผลการศึกษา: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยระหว่างค่า eGFR [subscript Zappitelli] และค่า eGFR [subscript Schwartz] มีความแตกต่างกันมากกว่าค่าที่ยอมรับได้ แม้ว่าจะพบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงและความสอดคล้องระหว่างค่า eGFR [subscript Zappitelli] และค่า eGFR [subscript Schwartz] |
บรรณานุกรม | : |
กมลวรรณ พ่อค้า . (2552). การเปรียบเทียบค่าอัตราการกรองของโกลเมอรูลัสที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สมการของแซปพิเทลบีและสมการของชวารทซ์ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กมลวรรณ พ่อค้า . 2552. "การเปรียบเทียบค่าอัตราการกรองของโกลเมอรูลัสที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สมการของแซปพิเทลบีและสมการของชวารทซ์ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กมลวรรณ พ่อค้า . "การเปรียบเทียบค่าอัตราการกรองของโกลเมอรูลัสที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สมการของแซปพิเทลบีและสมการของชวารทซ์ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. กมลวรรณ พ่อค้า . การเปรียบเทียบค่าอัตราการกรองของโกลเมอรูลัสที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สมการของแซปพิเทลบีและสมการของชวารทซ์ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|