ชื่อเรื่อง | : | นิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
นักวิจัย | : | ศุภมัย พรหมแก้ว |
คำค้น | : | โคพีพอด , แพลงค์ตอนสัตว์ , อ่าวปากพนัง (นครศรีธรรมราช) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17453 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 ประชาคมโคพีพอดในอ่าวปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชในฤดูแล้ง (เดือนตุลาคม 2550) และฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม 2551) ประกอบด้วยโคพีพอด 29 ชนิด จาก 5 ลำดับ ได้แก่ อับดับ Calanoida 16 ชนิด จาก 6 ครอบครัว อันดับ Harpacticoida 5 ชนิด จาก 4 ครอบครัว อันดับ Cyclopoida 3 ชนิด จาก 2 ครอบครัว อันดับ Poicelostomatoida 4 ชนิด จาก 3 ครอบครัว และ Siphonostomatoida 1 ชนิด และโคพีพอดที่เป็นชนิดเด่นในบริเวณอ่าวปากพนัง ได้แก่ Pseudodiaptomus annandalei, Psuedodiaptomus sp. และ Acartia sinjiensis การศึกษานิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นทั้ง 3 ชนิดในฤดูฝนและในฤดูแล้ง โดยศึกษาการเรืองแสงของอาหารในกระเพาะ (gut fluorescence) พบว่าโคพีพอดทั้ง 3 ชนิดกินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม cyanobateria ซึ่งเป็น autotrophic prokaryotes ที่มีขนาดตั้งแต่พิโคแพลงก์ตอนจนถึงไมโครแพลงก์ตอน และ/หรือแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม haptophytes ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนพืชขนาดนาโนแพลงก์ตอน สอดคล้องกับการที่พบว่านาโนแพลงก์ตอนมีมวลชีวภาพในรูปคลอโรฟิลล์ เอ สูงกว่าแพลงก์ตอนพืชขนาดอื่น ประชากรโคพีพอดทั้งสามชนิดที่อาศัยอยู่บริเวณอ่าวปากพนังตอนใน (ปากแม่น้ำปากพนัง) และอ่าวปากพนังตอนนอก (ปากคลองปากนครและปลายแหลมตะลุมพุก) มีปริมาณ gut chlorophyll a และ gut phaeopigment สูงกว่าประชากรโคพีพอดในบริเวณป่าชายเลน และโคพีพอดเพศเมียมีปริมาณ gut chl a และ gut phaeopigment สูงกว่าเพศผู้ตลอดเวลาที่ศึกษา โคพีพอดชนิด P. annandalei เพศเมียในบริเวณปากแม่น้ำปากพนังในฤดูฝน มีปริมาณ gut chl a และ gut phaeopigment สูงกว่าในบริเวณอื่นๆ ส่วนโคพีพอดเพศผู้ที่พบบริเวณปลายแหลมตะลุมพุกนั้น มีค่า gut chl a และ gut phaeopigment สูงกว่าโคพีพอดเพศผู้ในบริเวณอื่น ในขณะที่ P. annandalei เพศเมียที่พบบริเวณปากคลองปากนครในฤดูแล้งมีปริมาณ gut pigments สูงกว่าโคพีพอดเพศผู้ ส่วนโคพีพอดชนิด A. sinjiensis ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีค่า gut pigments ต่ำกว่า 0.20 µg ind-1 ในขณะที่โคพีพอดชนิด Pseudodiaptomus sp. มีปริมาณ gut chl a และ gut phaeopigment สูงสุดในบริเวณป่าชายเลนฝั่งตะวันตก ปริมาณของ gut phaeopigment ในโคพีพอดทั้งสามชนิดมีแนวโน้มแปรผกผันกับปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ จากแพลงก์ตอนพืชขนาดนาโนและพิโคแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มที่มีมวลชีวภาพในรูปคลอโรฟิลล์ เอ สูงกว่า 80% ของคลอโรฟิลล์เอ ทั้งหมด ในบริเวณที่ศึกษา เนื่องจากรยางค์ในการกินอาหารของโคพีพอดทั้งสามชนิดมีระยะห่างระหว่าง plumose setae ต่ำกว่า 3 ไมโครเมตร นอกจากนี้การศึกษาการกินอาหารของโคพีพอดในรอบวันพบว่าโคพีพอดชนิด P. annandalei มีการกินอาหารสูงสุดในช่วงที่น้ำกำลังขึ้นในช่วงกลางคืน เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของรงควัตถุในกระเพาะของโคพีพอด พบรงควัตถุ 4 กลุ่ม ได้แก่ chlorophyll c, diatoxanthin, astaxanthin และ unidentified pigment โดย astaxanthin เป็นรงควัตถุที่เปลี่ยนรูปมาจาก β–carotene ซึ่งเป็นรงควัตถุที่สามารถพบได้ในแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม chromophyta จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่าอาหารของโคพีพอดส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดอะตอม ไดโนแฟลกเจลเลต และ haptophytes ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบในบริเวณอ่าวปากพนังมีโคพีพอดระยะ nauplius เป็นกลุ่มเด่น และมีแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม herbivorous calanoid copepods, cirripedia larvae และ rotifers ที่น่าจะกินอาหารอย่างเดียวกับโคพีพอดชนิดเด่นในบริเวณนี้ |
บรรณานุกรม | : |
ศุภมัย พรหมแก้ว . (2552). นิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภมัย พรหมแก้ว . 2552. "นิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภมัย พรหมแก้ว . "นิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ศุภมัย พรหมแก้ว . นิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|