ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | เนาวรินทร์ ชนะทัพ |
คำค้น | : | ประชากรศึกษา -- การศึกษาและการสอน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2522 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17766 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย : สุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นผู้บริหาร ได้แก่อาจารย์ใหญ่หรือผู้อำนวยการ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าสายวิชาสังคมศึกษา กับตัวอย่างประชากรจำนวน 30 คน และอาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษาทุกคนจำนวน 25 คน นักเรียนจำนวน 300 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เปิดสอนวิชาประชากรศึกษาปีการศึกษา 2520 และปีการศึกษา 2521 เฉพาะในกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โรงเรียน โดยการสุ่มแบ่งเป็นพวก (Stratified Random Sampling) ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการเรียนวิชาการประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สร้างขึ้นเอง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าโคสแควร์ (Chi-aquars) เป็นรายข้อและนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง 1. เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยส่วนรวมแล้ว ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในปัญหาจำนวน 59 ข้อ จากจำนวนทั้งสิ้น 112 ข้อ 2. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียน สรุปได้ดังนี้ 2.1 ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาประชากรศึกษาในเกณฑ์มาก จากค่าเฉลี่ย (x̅) 2.50 ขึ้นไป และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ที่ .05 ได้แก่ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชากรศึกษาให้แก่ชุมชน ด้านวิธีสอน ส่วนในด้านสื่อการเรียนการสอนมีปัญหาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับแหล่งสื่อการเรียนการสอนและการขอยืมสื่อการเรียนการสอนจากสถาบันอื่น ตลอดจนจำนวนและชนิดของสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน สำหรับด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ขาดความร่วมมือและสนับสนุนจากสถาบันต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการจัดตั้งชุมนุมประชากรศึกษา 2.2 ปัญหาที่ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียน มีความเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ขึ้นไป ได้แก่ด้านเทคนิควิธีสอน ส่วนปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอนได้แก่ หนังสือและเอกสารที่ใช้ค้นคว้าศึกษา ความพร้อมของหนังสือคู่มือครู, บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนที่โรงเรียนจัดให้ และการผลิตสื่อการเรียนการสอน |
บรรณานุกรม | : |
เนาวรินทร์ ชนะทัพ . (2522). ปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เนาวรินทร์ ชนะทัพ . 2522. "ปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เนาวรินทร์ ชนะทัพ . "ปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522. Print. เนาวรินทร์ ชนะทัพ . ปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2522.
|