ชื่อเรื่อง | : | ประสิทธิผลการสื่อสารของโครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา" |
นักวิจัย | : | รินทร์ขวัญ สะอาดดี |
คำค้น | : | นักเรียนอาชีวศึกษา , นักเรียน , วัยรุ่น , โครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา" , ความก้าวร้าวในวัยรุ่น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พนม คลี่ฉายา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16920 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ สร้างสรรค์คนพันธุ์อา ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา และศึกษาประสิทธิผลของ การสื่อสารด้านทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษา ภาพลักษณ์ที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษา และการ ตัดสินใจเข้าศึกษาหรือส่งบุตรหลานศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสร้างสรรค์คนพันธุ์อาโดยรวม จากสื่อทุกประเภทอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแยกตามประเภทสื่อพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับ ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการฯ จากสื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจในระดับน้อย แต่เปิดรับข่าวสารจากสื่อกิจกรรมและ สื่อมวลชนอยู่ในระดับปานกลาง ในด้านทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษาอยู่ในระดับดี ภาพลักษณ์ โดยรวมที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อนักเรียนอาชีวศึกษาอยู่ในเชิงบวก นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจเข้า ศึกษาหรือส่งบุตรหลานศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาอยู่ในระดับไม่แน่ใจ แต่จะแนะนำให้บุคคลอื่นเข้าศึกษาหรือ แนะนำให้ส่งบุตรหลานศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ ดังนี้ 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสร้างสรรค์คนพันธุ์อามีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการศึกษา ในสายอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ ในระดับต่ำมาก 2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสร้างสรรค์คนพันธุ์อามีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ที่มีต่อ นักเรียนอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ ในระดับต่ำ 3. ทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาหรือส่งบุตรหลาน ศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ในระดับต่ำ 4. ภาพลักษณ์ที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาหรือส่งบุตรหลาน ศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ในระดับต่ำ |
บรรณานุกรม | : |
รินทร์ขวัญ สะอาดดี . (2552). ประสิทธิผลการสื่อสารของโครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รินทร์ขวัญ สะอาดดี . 2552. "ประสิทธิผลการสื่อสารของโครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา"".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รินทร์ขวัญ สะอาดดี . "ประสิทธิผลการสื่อสารของโครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา"."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. รินทร์ขวัญ สะอาดดี . ประสิทธิผลการสื่อสารของโครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา". กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|