ชื่อเรื่อง | : | การเปิดรับวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยจากสื่อมวลชนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น |
นักวิจัย | : | ณัฐณิชา วัฒนพานิช |
คำค้น | : | การแพร่กระจายวัฒนธรรม , การสื่อสารกับวัฒนธรรม , อัตลักษณ์ , วัฒนธรรมญี่ปุ่น , วัยรุ่น -- ไทย , ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ญี่ปุ่น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16809 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับและติดตามวัฒนธรรมป๊อปจากประเทศญี่ปุ่นผ่านสื่อมวลชน และลักษณะของแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมป๊อป 6 ประเภทคือ หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูน ดนตรี ละคร นิยาย และเกมคอมพิวเตอร์ ของวัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative methodology) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เริ่มรู้จักวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นจากภาพยนตร์แอนนิเมชั่นทางสื่อโทรทัศน์ โดยเพื่อนมีอิทธิพลต่อเนื้อหาและรูปแบบของวัฒนธรรมป๊อปที่วัยรุ่นติดตามมากที่สุด สื่อหลักที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้ในการติดตามวัฒนธรรมป๊อปจากประเทศญี่ปุ่นคือสื่ออินเทอร์เน็ต โดยการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในปี 2546 ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีโอกาสในการบริโภคเนื้อหาของวัฒนธรรมป๊อปด้วยค่าใช้จ่ายที่จำกัด สำหรับแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 40 คน เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นจากแรงจูงใจสองทางคือ วัฒนธรรมป๊อปจากญี่ปุ่น และประสบการณ์ส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งก็คือแรงจูงใจเชิงเครื่องมือ (Instrumentality) จากกลุ่มตัวอย่าง 40 คนมีกลุ่มตัวอย่าง 4 คน ที่มีโอกาสเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ก่อนจากประกบการณ์ส่วนบุคคล หลังจากกลุ่มตัวอย่างเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นมีตัวแปร 4 ตัวซึ่งส่งผลให้แรงจูงใจเชิงเครื่องมือของกลุ่มตัวอย่างพัฒนาไปสู่แรงจูงใจเชิงบูรณาการ (integrativeness) และก่อให้เกิดความรู้สึกรักและสนใจในประเทศญี่ปุ่น ตัวแปรทั้ง 4 ตัวประกอบไปด้วย เพื่อน พ่อแม่ โรงเรียน และความถนัดของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากเกิดแรงจูงใจเชิงบูรณาการขึ้นกลุ่มตัวอย่างแสดงออก 2 ทางคือ การเข้าสังคม และความสนใจด้านอาชีพ กรณีตัวอย่างจำนวน 39 คนมีการแสดงออกทางสังคมในขณะที่ 23 คนมีการแสดงออกทั้งด้านสังคมและความสนใจด้านอาชีพ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน มีกลุ่มตัวอย่างเพียงคนเดียวที่ไม่เกิดแรงจูงใจเชิงบูรณาการขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
ณัฐณิชา วัฒนพานิช . (2552). การเปิดรับวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยจากสื่อมวลชนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐณิชา วัฒนพานิช . 2552. "การเปิดรับวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยจากสื่อมวลชนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐณิชา วัฒนพานิช . "การเปิดรับวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยจากสื่อมวลชนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ณัฐณิชา วัฒนพานิช . การเปิดรับวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยจากสื่อมวลชนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|