ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
นักวิจัย | : | โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ |
คำค้น | : | ความเครียดในการทำงาน , ครู -- ความเครียดในการทำงาน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16140 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประการที่สอง เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และประการสุดท้าย เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู ระหว่างครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 488 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร คือ ความเครียดในการทำงานของครู ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ปัจจัยด้านเศรษฐานะของครอบครัว ปัจจัยด้านความประพฤติของนักเรียน ปัจจัยด้านการบริหารเวลา และปัจจัยด้านสัมพันธภาพภายในโรงเรียน ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 17 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ .562 ถึง .900 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความเครียดในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านความประพฤติของนักเรียน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม ประกอบด้วย ตัวแปรปัจจัย 2 ประเภท ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารเวลา ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ปัจจัยด้านเศรษฐานะของครอบครัว ปัจจัยด้านความประพฤติของนักเรียน และปัจจัยด้านสัมพันธภาพภายในโรงเรียน และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเครียดในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะของงาน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องให้ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 85.79; p = .083 ที่องศาอิสระเท่ากับ 69 ค่า GFI เท่ากับ .980 ค่า AGFI เท่ากับ .955 ค่า RMR เท่ากับ .033 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ 33.40% 3. โมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มครูที่สอนทั้งสองระดับชั้น โดยให้ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 242.180; p = .016 ที่องศาอิสระเท่ากับ 197 ค่า GFI เท่ากับ .941 ค่า NFI เท่ากับ .950 ค่า RFI เท่ากับ .931 และค่า RMR เท่ากับ .050 อย่างไรก็ตามโมเดลสำหรับแต่ละระดับชั้นที่สอนมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบ |
บรรณานุกรม | : |
โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ . (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ . 2551. "การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ . "การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ . การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|