ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างการหย่าด้วยเครื่องช่วยหายใจพยุงความดันด้วยเวลานาน 30 นาทีและ 120 นาที |
นักวิจัย | : | ณัทญา ตรีภูริเดช |
คำค้น | : | เครื่องช่วยหายใจ , ผู้ป่วยหนัก , การดูแลขั้นวิกฤต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ฉันชาย สิทธิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16336 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 ที่มา: Task Force 2007 แนะนำว่าการทดสอบความสามารถในการหายใจได้เองเป็นครั้งแรก ควรใช้เวลานาน 30 นาที ซึ่งใช้ทั้งสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางอายุรกรรมและศัลยกรรม แต่เวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางอายุรกรรมยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางอายุรกรรมที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานอย่างน้อย 48 ชั่วโมง และมีความพร้อมในการทดสอบความสามารถในการหายใจได้เองเป็นครั้งแรกจะได้รับการสุ่มเป็น 2 กลุ่มตามระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจพยุงความดันเป็นเวลานาน 30 นาที และ 120 นาที ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 26 รายในกลุ่ม 30 นาที และ 27 รายในกลุ่ม 120 นาที ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ และอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในกลุ่ม 30 นาทีและกลุ่ม 120 นาที ปัจจัยที่มีผลต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจคือค่า Simplified acute physiology score II (SAPSII) ขณะแรกรับใน ICU (48.7 ± 11.6 ในกลุ่มสำเร็จ และ 63.2 ± 16.1 ในกลุ่มล้มเหลว; p=0.000) ผู้ป่วยที่มี SAPSII>50 มีอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จในกลุ่ม 30 นาทีต่ำกว่ากลุ่ม 120 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (30.8% และ 68.8% ตามลำดับ; p=0.04) สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษานี้ การเพิ่มเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจจาก 30 นาที เป็น 120 นาที ไม่เพิ่มอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ และไม่ลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางอายุรกรรม แต่อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีค่า SAPS II>50 |
บรรณานุกรม | : |
ณัทญา ตรีภูริเดช . (2552). การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างการหย่าด้วยเครื่องช่วยหายใจพยุงความดันด้วยเวลานาน 30 นาทีและ 120 นาที.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัทญา ตรีภูริเดช . 2552. "การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างการหย่าด้วยเครื่องช่วยหายใจพยุงความดันด้วยเวลานาน 30 นาทีและ 120 นาที".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัทญา ตรีภูริเดช . "การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างการหย่าด้วยเครื่องช่วยหายใจพยุงความดันด้วยเวลานาน 30 นาทีและ 120 นาที."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ณัทญา ตรีภูริเดช . การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างการหย่าด้วยเครื่องช่วยหายใจพยุงความดันด้วยเวลานาน 30 นาทีและ 120 นาที. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|