ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
นักวิจัย | : | จีรพิศ สุวรรณวงค์ |
คำค้น | : | ขวัญในการทำงาน , ครู |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16128 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประการที่สอง เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และประการสุดท้ายเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 750 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 7 ตัวแปร คือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยลักษณะการบริหาร ปัจจัยสัมพันธภาพในการทำงานของครู ปัจจัยบรรยากาศภายในโรงเรียน ปัจจัยภาวะแวดล้อมภายนอกโรงเรียน ปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครู และขวัญในการปฏิบัติงานของครู ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้จำนวน 31 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์อิทธิพล (Path analysis) ด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL 8.72) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูมีขวัญในการปฏิบัติงานด้านรู้สึกเป็นเจ้าของสถานศึกษาร่วมกันสูงสุด และครูมีขวัญในการปฏิบัติงานด้านเต็มใจในการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ อยู่ในระดับปานกลางเพียงด้านเดียว การเปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและภูมิภาค ดังนี้ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง เงินเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศเพียงด้านเดียว มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยของระดับขวัญในการปฏิบัติงานสูงกว่าครูเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2 เมื่อเปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ครูในภูมิภาคต่างกัน มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูในภาคใต้มีระดับขวัญในการปฏิบัติงานสูงกว่า ครูในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลจากการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ขวัญในการปฏิบัติงานของครู ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครูสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยสัมพันธภาพในการทำงานของครู และขวัญในการปฏิบัติงานของครู ได้รับอิทธิพลรวมและอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด จากปัจจัยลักษณะการบริหาร โดยส่งผ่านมายังตัวแปรปัจจัยสัมพันธภาพในการทำงานของครู ปัจจัยบรรยากาศภายในโรงเรียน และปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครู รองลงมาคือ ปัจจัยบรรยากาศภายในโรงเรียน และปัจจัยภาวะแวดล้อมภายนอกโรงเรียน โดยส่งผ่านมายังปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครู 3. โมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ chi-square = 140.97, df = 177, p = 0.978, GFI = 0.984, AGFI = 0.956 และ RMR = 0.0105 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้ 86% |
บรรณานุกรม | : |
จีรพิศ สุวรรณวงค์ . (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีรพิศ สุวรรณวงค์ . 2551. "การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีรพิศ สุวรรณวงค์ . "การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. จีรพิศ สุวรรณวงค์ . การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|