ชื่อเรื่อง | : | การแก้ไขปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติในแผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ |
นักวิจัย | : | อวิกา โรจน์วิรัตน์ |
คำค้น | : | การแจกแจง (ทฤษฎีความน่าจะเป็น) , การทดลองแบบสุ่มภายในบล็อค , การออกแบบการทดลอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุพล ดุรงค์วัฒนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15920 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 วัตุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาหารูปแบบการแปลงข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติในแผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ให้มีการแจกแจงลู่เข้าสู่การแจกแจงแบบปกติ โดยพิจารณารูปแบบการแปลงข้อมูลทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ การแปลงแบบกำลังของ Box-Cox และการแปลงโดยใช้วิธี Dual power transformation โดยมีตัวแบบเชิงสถิติดังนี้ Yij = µ + τ[subscript i] + βj + εij สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการจำลองข้อมูลด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล โดยกำหนดจำนวนวิธีการทดลองเท่ากับ 3, 5 และ 7 จำนวนบล็อกเท่ากับ 3, 5 และ 7 ข้อมูลตอบสนองมีการแจกแจงแบบแลมดาตูกีร์ ซึ่งกำหนดให้มีลักษณะความเบ้และความโด่งต่าง ๆ และสัมประสิทธิ์ความแปรผันเท่ากับ 20% 40% และ 60% ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณารูปแบบการแปลงที่ดีที่สุดจะพิจารณาจากร้อยละของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติให้มีการแจกแจงเป็นแบบปกติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การแจกแจงแบบเบ้ขวา : ในทุกระดับความเบ้ รูปแบบการแปลงแบบกำลังของ Box-Cox จะให้ร้อยละของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติสูงที่สุดเป็นส่วนใหญ่ การแจกแจงแบบเบ้ซ้าย : ที่ระดับความเบ้ระดับต่ำ รูปแบบการแปลงแบบ Dual Power จะให้ร้อยละของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติสูงที่สุดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ความเบ้ระดับสูงขึ้น รูปแบบการแปลงแบบกำลังของ Box-Cox จะให้ร้อยละของความสำเร็จสูงที่สุดเป็นส่วนใหญ่ 2.ร้อยละของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติจะแปรผันตามจำนวนวิธีการทดลองและจำนวนบล็อกเมื่อความเบ้มีระดับต่ำ แต่ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนวิธีการทดลองและจำนวนบล็อกเมื่อความเบ้อยู่ในระดับสูง 3.เมื่อความโด่งมีระดับต่ำแนวโน้มของร้อยละของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติมีลักษณะแปรผันตามความโด่งจนถึงจุดหนึ่งจากนั้น จะมีลักษณะแปรผกผันกับความโด่งเมื่อความโด่งมีระดับสูงขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
อวิกา โรจน์วิรัตน์ . (2551). การแก้ไขปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติในแผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อวิกา โรจน์วิรัตน์ . 2551. "การแก้ไขปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติในแผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อวิกา โรจน์วิรัตน์ . "การแก้ไขปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติในแผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. อวิกา โรจน์วิรัตน์ . การแก้ไขปัญหาข้อมูลตอบสนองที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติในแผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|